ขั้นตอนการเสนอแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช.. ผิดหรือไม่ ? ตอนที่ 1

ขั้นตอนการเสนอแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช.. ผิดหรือไม่ ?
: ความจริงที่ชาวพุทธต้องรู้ (๑)
-----------------------------------------------

โพสต์นี้ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง.. อย่าเอาผมไปยุ่งกับการเมือง

นั่งบนภูอยู่ได้ไม่กี่วัน เห็นว่า มีการวินิจฉัยขั้นตอนการเสนอแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช ตามมาตรา ๗ ของพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ มีความไม่ชอบมาพากล ต้องลงมาชี้แจง..

ที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินบอกว่า.. ดำเนินการผิดขั้นตอน โดยใจความสำคัญ คือ ต้องให้นายกรัฐมนตรีเสนอรายชื่อให้มหาเถรสมาคมให้ความเห็นชอบ.. ไม่ใช่มหาเถรสมาคมเห็นชอบรายชื่อแล้วให้นายกรัฐมนตรีนำเสนอ..? 

คำวินิจฉัยนี้ ทำให้เกิดคำถามในใจว่าใช่หรือ ?

ที่กล้าคิดแบบนี้.. เพราะ ๑๓ ปีกว่า ที่สนองงานมหาเถรสมาคมมา คลุกคลีกับการทำรายงานการทำมติและรายงานการประชุมมหาเถรสมาคม.. จนไม่ต้องเข้าประชุมก็สามารถทำมติตามเรื่องได้ว่ามหาเถรสมาคมมีมติอย่างไร

ต้องบอกว่า รู้กฎหมายสงฆ์มากกว่านักกฎหมายทั่วไป เพราะหลักการร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ทุกฉบับ คือ จะมีผู้แทนมหาเถรสมาคมร่วมยกร่างหรือเป็นที่ปรึกษาเวลายกร่าง และมหาเถรสมาคมจะพิจารณาฉบับเต็มทั้งฉบับ ก่อนที่รัฐบาลจะประกาศใช้ 

ไม่ใช่อยู่ดีๆ รัฐบาลยกร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับนั้นแล้วประกาศใช้เลย เป็นไปไม่ได้.. ไม่มีรัฐบาลชุดใดใช้แนวคิด “ตัดโลงไม่ต้องถามผี” คือ ร่างแล้วประกาศให้พระถือปฏิบัติเลย ไม่มีครับ..

เกี่ยวกับเรื่องนี้  ขอให้มองตามสภาพความเป็นจริงว่า คนคือสัตว์ประเภทหนึ่ง ในบรรดาสิ่งมีชีวิตในโลกนี้ ที่มีอยู่หลายสายพันธุ์.. และคนยังมีการแบ่งประเภทต่างๆ ตามเชื้อชาติ ถิ่นเกิด พันธุกรรม ฯลฯ

ขอเทียบเท่าที่เราเคยรู้/ได้ยิน/ได้เห็น.. เพื่อความเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น

มีไหม.. ที่เสือจะมีจ่าฝูงเป็นแมว.. สิงโตจะมีช้างเป็นจ่าฝูง.. ลิงจะมีหมูเป็นหัวหน้า.. ไม่มีเลย 

สัตว์ชนิดใด..จะมีสัตว์ชนิดนั้นเป็นจ่าฝูง.. จะเป็นไปโดยการต่อสู้กัน ตัวที่ชนะจะเป็นผู้นำฝูง หรืออย่างไรก็ตาม.. นี้คือธรรมชาติของสัตว์ รวมทั้งมนุษย์ด้วย

เมื่อเป็นมนุษย์ ก็จะมีผู้นำต่างลักษณะกันไป ตามความแตกต่างของเชื้อชาติเป็นต้น ดังที่กล่าวข้างต้น จะเรียกว่าอย่างไร จะเป็นอะไร ก็แล้วแต่จะสมมติกัน ตกลงกัน..

ลัดสั้นมาถึงประเทศไทย กลุ่มทหารก็เลือกทหารเป็นผู้นำ กลุ่มตำรวจก็เลือกตำรวจเป็นผู้นำ กลุ่มศาสนาก็เลือกผู้นำเป็นผู้นับถือศาสนานั้นเป็นผู้นำ 

ดังนั้น การที่มหาเถรสมาคมจะเลือกสมเด็จพระราชาคณะรูปใดเป็นผู้นำของพระ ก็เป็นเรื่องของพระ เพราะผู้นำพระก็ต้องเป็นผู้นำที่ได้รับการคัดเลือกจากพระ โดยวิธีใดวิธีหนึ่ง ไม่ใช่ให้ฆราวาสเลือกพระให้มาคุมพระ

เหมือนกับการเลือกจุฬาราชมนตรีของศาสนาอิสลามในประเทศไทย การเลือกพระสันตปาปาเป็นประมุขของศาสนคริสต์ เป็นการเลือกจากใคร.. จากสมาชิกในหน่วยนั้นๆ คือ อิหม่าม บิชอป ฯลฯ ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย.. ใช่หรือไม่ ?

นี่เป็นหลักพื้นฐานของกฎหมายด้านการปกครอง.. 

จึงคิดสงสัยว่า คำวินิจฉัยของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินทำไมขัดกับความเป็นจริง.. ยิ่งได้ทราบว่า ต้องเปิดพจนานุกรมวินิจฉัย.. อ้างปรึกษาผู้รู้.. และที่สำคัญได้อ้างเจตนารมณ์ของสภาผู้แทนที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์.. ตามข่าวเนชั่นทีวีดังนี้

"นายรัษเกชา แถลงว่ามติของมหาเถรสมาคม ในการเสนอชื่อสมเด็จช่วงเป็นพระสังฆราชองค์ที่ 20 ไม่ถูกต้องตามขั้นตอน พร้อมยืนยันด้วยหลักฐานรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ถึงเจตนารมณ์ ในการแก้ไข พ.ร.บ.คณะสงฆ์ เมื่อปี 2535 

ที่บอกอย่างชัดเจนว่า ต้องเริ่มต้นเสนอชื่อผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมโดยนายกรัฐมนตรีก่อน จากนั้นจึงส่งให้ มหาเถรสมาคม เห็นชอบ ดังนั้น มติมหาเถรสมาคม ซึ่งเป็นการประชุมลับ เมื่อวันที่ 5 มกราคม ให้เสนอชื่อสมเด็จช่วง เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เป็นสมเด็จพระสังฆราช จึงเป็นการดำเนินการที่ผิดขั้นตอนของกฎหมาย"
อ่านต่อที่: http://www.nationtv.tv/main/content/social/378492379/ (ที่มา คัดลอกมาโดยไม่ได้แต่งเติมแต่อย่างไร)

จึงถึงบางอ้อว่า “เรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและคณะสงฆ์ไทยในประเทศไทยมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร ?”

จะไม่ขอเอ่ยถึงใคร ถ้าไม่จำเป็น ถ้ากล่าวอ้าง ต้องกราบขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย

ก่อนอื่นขอแจ้งเพื่อความเข้าใจว่า

๑. ได้ศึกษาและคลุกคลีอยู่กับกฎหมายคณะสงฆ์มาตลอด ตั้งแต่ครั้งพุทธกาลเป็นต้นมาถึงปัจจุบัน ทั้งจากพระไตรปิฎก อรรถกถา และหนังสือภาษาไทย ที่มีอยู่ในประเทศไทย 

๒ เรื่องการเมือง ติดตามมาตลอด ทุกฝ่าย แต่ไม่ได้ยึดติดกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง 

ดังนั้น จึงขอเรียนว่า…

๑. "นายรัษเกชา แถลงว่ามติของมหาเถรสมาคม ในการเสนอชื่อสมเด็จช่วงเป็นพระสังฆราชองค์ที่ 20 ไม่ถูกต้องตามขั้นตอน พร้อมยืนยันด้วยหลักฐานรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ถึงเจตนารมณ์ ในการแก้ไข พ.ร.บ.คณะสงฆ์ เมื่อปี 2535 ที่บอกอย่างชัดเจนว่า ต้องเริ่มต้นเสนอชื่อผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมโดยนายกรัฐมนตรีก่อน จากนั้นจึงส่งให้ มหาเถรสมาคม เห็นชอบ ดังนั้น มติมหาเถรสมาคม ซึ่งเป็นการประชุมลับ เมื่อวันที่ 5 มกราคม ให้เสนอชื่อสมเด็จช่วง เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เป็นสมเด็จพระสังฆราช จึงเป็นการดำเนินการที่ผิดขั้นตอนของกฎหมาย"

มีข้อที่ผิด (ขอใช้คำย่อ จะได้ไม่ยาว) ดังนี้..

๑. พรบ. คณะสงฆ์ ๒๕๓๕ ประกาศใช้ในสมัย นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเป็นสมัยที่อยู่ในช่วงของคณะ รสช. (เมื่อ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔) จึงไม่มีสภาผู้แทนราษฎร มีแต่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ 

เน้นว่า.. ข้อความสำคัญอย่างนี้ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน “อ้างผิด” ได้อย่างไร ..และสงสัยต่อไปว่า..ที่อ้างแบบนี้..ได้ค้นมาจริงหรือไม่ ?

๒. เมื่ออ้างที่มาผิด ข้อความว่า “พร้อมยืนยันด้วยหลักฐานรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ถึงเจตนารมณ์ ในการแก้ไข พ.ร.บ.คณะสงฆ์ เมื่อปี 2535 ที่บอกอย่างชัดเจนว่า ต้องเริ่มต้นเสนอชื่อผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมโดยนายกรัฐมนตรีก่อน จากนั้นจึงส่งให้ มหาเถรสมาคม เห็นชอบ” .

จึงไม่น่าเชื่อถือว่า อ้างมาจริงหรือไม่ รายงานการประชุมสภานิติบัญญัติจริงจะระบุเช่นนี้เลยหรือ..? น่าจะอยู่ในรายงานการประชุมของคณะกรรมการกฤษฎีกามากกว่า..

อีกกรณีหนึ่ง ที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินผิดพลาด คือ การแถลงออกมาว่า พระวินิจฉัยกรณีวัดพระธรรมกายเป็นกฎหมาย และไม่มีการตรวจสอบกฎของคณะสงฆ์ จึงผิดอีก เพราะพระวินิจฉัยที่กล่าวถึงนั้นขัดกับกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๒๑)

ดังนั้น ความเชื่อถือในกฎหมายอื่น ก็ว่ากันไป แต่ความเชื่อถือเกี่ยวกับกฎหมายสงฆ์ โดยส่วนตัว ผมไม่เชื่อ.. 

จึงไม่มีความน่าเชื่อถือ ในการอ้างและผลของการอ้างว่า “ที่บอกอย่างชัดเจนว่า ต้องเริ่มต้นเสนอชื่อผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมโดยนายกรัฐมนตรีก่อน จากนั้นจึงส่งให้ มหาเถรสมาคม เห็นชอบ”

สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินไม่ทราบอีกหลายเรื่อง จึงวินิจฉัยไม่ถูกต้อง.. ขอเน้นว่า “ไม่ถูกต้อง” 

ข้อมูลที่ศึกษาค้นคว้าอย่างเงียบๆ ระหว่างอยู่บนภู.. จะเล่าให้ฟัง เพื่อจะได้เข้าใจกันอย่างถูกต้อง ส่วนใครจะลากเป็นเรื่องการเมือง ทิศใด สีไหน ข้างไหน .. ไม่อยู่ในสมองของผม ผมไม่สนใจ..

ลอกหรือเก็บข้อความต่อไปนี้ไว้..

๑. ใครเป็นผู้ให้แก้ไข พรบ. คณะสงฆ์ ๒๕๓๕ ? 
ตอบ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงมีพระบัญชาให้แก้ไข (รายละเอียดมีมาก) 

ดังนั้น ภาพที่ปรากฏในเพจของท่านนี้ จึงเป็นการดูหมิ่นสมเด็จพระสังฆราชอย่างมาก เช่น ใช้คำว่า ปล้นพระราชอำนาจ ฯลฯ เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชศรัทธาใน สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช มาก เป็นพิเศษ ตามที่ทราบกัน
https://www.facebook.com/Wirangrong.Dabbaransi/posts/988499671235239

๒. เหตุใดจึงต้องแก้ไข ?
ตอบ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงเห็นว่า การยึดอาวุโสตามพรรษา แม้จะมีการแสดงความเคารพสอดคล้องกับพระวินัย แต่ขัดกับพระราชพิธี คือ ในพระราชพิธีต่างๆ การเข้ารับ/การนั่งบนอาสนะ ฯลฯ จะเรียงอาวุโสตามสมณศักดิ์ที่พระเจ้าแผ่นดินทรงสถาปนาหรือตั้ง ดังนั้น จึงทรงใช้หลัก ราชานุวัตร (อนุวัตร/สอดคล้องกับบ้านเมือง) เปลี่ยน อาวุโสโดยพรรษา เป็น อาวุโสโดยสมณศักดิ์ ในมาตรา ๗ ที่พูดถึงกันนี้ แต่การทำคามเคารพยังยึดตามพรรษาตามพระวินัยเหมือนเดิม บางท่าน อาจเคยเห็นภาพ สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ก่อนทรงไหว้พระอื่นก่อน แสดงว่า พระรูปนั้นมีอาวุโสทางพรรษามากกว่า

(อธิบายง่ายๆ คือ ในพระราชพิธีทุกพิธี พระจะนั่งตามลำดับอาวุโสทางสมณศักดิ์ เช่น ในงานมีพระระดับเจ้าคุณชั้นสามัญ ชั้นธรรม ชั้นราช พระครู รองสมเด็จ และสมเด็จ ไม่ว่ารูปใดจะบวชมาก่อน (เรียกว่า อาวุโสตามพรรษา) จะนั่งตามลำดับ คือ สมเด็จ-รองสมเด็จ-ชั้นธรรม-ชั้นราช-สามัญ-พระครู และใช้พัดยศ)

๓. ใน พรบ. คณะสงฆ์ ๒๕๓๕ มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง
ตอบ ให้ดูหลักการและเหตุผลท้าย พรบ. จะเป็นดังนี้

“เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว สมควรปรับปรุงบทบัญญัติว่าด้วยการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช และการแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช การแต่งตั้งและถอดถอนสมณศักดิ์ของพระภิกษุอำนาจหน้าที่และการปฏิบัติหน้าที่ของมหาเถรสมาคม การปกครอง การสละสมณเพศของคณะสงฆ์และคณะสงฆ์อื่น วัด การดูแลรักษาวัด ทรัพย์สินของวัด และศาสนสมบัติกลาง ตลอดจนปรับปรุงบทกำหนดโทษให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้”

นี่คือ สิ่งที่ปรับปรุง/เพิ่มเติมจาก พรบ. คณะสงฆ์ ๒๕๐๕ และไม่ขออธิบายในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับ มาตรา ๗ ใน พรบ. คณะสงฆ์ ๒๕๓๕
(มีต่อภาค ๒ ขอพักสักครู่)
-------------------------------------------


ที่มา: พิศาฬเมธ แช่มโสภา

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1542354069397744&id=100008694968507



ขั้นตอนการเสนอแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช.. ผิดหรือไม่ ? ตอนที่ 1 ขั้นตอนการเสนอแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช.. ผิดหรือไม่ ? ตอนที่ 1 Reviewed by bombom55 on 00:14 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.