ราชาเป็นสง่าแห่งแคว้น โดยทศพิธราชธรรม



ราชาเป็นสง่าแห่งแคว้น
ราชาเป็นสง่าแห่งแคว้น 
อยู่เป็นขวัญแดนโพธิ์ทองของปวงประชา 
มิ่งขวัญโพธิ์ทองของชนทั่วหน้า 
ราษฎร์สุขาก็เพราะพระบารมี

ราชาเป็นทั้งมิ่งและขวัญ 
ข้าอภิวันท์บังคมหวังชมศักดิ์ศรี 
พระคืนมาเหล่าปวงประชาภักดี 
พระปิ่นโมลีอยู่เป็นศรีไผท

โอ้ลมฝนบนฟ้ามาแล้ว 
ร่มโพธิแก้วจะพาพฤกษาสดใส 
ข้าวรพุทธเจ้าชาวไทย 
ยกกรไหว้แก่ไทยราชันย์

เราน้อมเกล้าเกศีถวายภูมีมอบศิระกราน 
เทิดบังคมภูบาลเอาไว้เหนือฟ้า 
โพธิ์ทองของชาวไทย อวยพรชัยให้มหาราชา 
ช่วยกันเปล่งวาจา ขอทรงพระเจริญ ไชโย 


ราชาเป็นสง่าแห่งแคว้น
ราชาที่ทรงครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม ทรงปกครองแผ่นดินด้วยทศพิธราชธรรม เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนโดยรวม
พระราชาเหล่าใด ทรงยินดีแล้วในทศพิธราชธรรม อันพระอริยเจ้าประกาศไว้
พระราชาเหล่านั้นเป็นผู้ประเสริฐด้วยกาย วาจา และใจ พระราชาเหล่านั้น
ทรงดำรงมั่นอยู่แล้วในขันติ โสรัจจะ และสมาธิ ย่อมถึงโลกทั้งสองโดยวิธีอย่างนั้น.
ทศพิธราชธรรม นี้ได้แก่

๑. ทาน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ได้ทรงบำเพ็ญทานบารมีมากมายจนเหลือที่จะพรรณนาได้สุดสิ้น ครบถ้วนทั้งสองประการ คือ “ธรรมทาน” ซึ่งถือเป็นทานอันเลิศทางพระพุทธศาสนา สามารถแก้ความทุกข์ยากขาดแคลนทางจิตใจ ทำให้ใจเป็นสุขและตั้งอยู่ในความดีงาม

โดยได้พระราชทานพระบรมราโชวาทแฝงด้วยคติธรรมเป็นเครื่องเตือนใจในเรื่องต่าง ๆ แก่พสกนิกรตามสถานะและวาระโอวาทอยู่เสมอ ในท้องถิ่นที่ต้องการความรู้ ได้พระราชทานความรู้และตรัสแนะนำในสิ่งอันจะทำประโยชน์มาให้ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณที่จะทรงช่วยดับทุกข์ความเดือดร้อนในจิตใจของประชาชนทั้งมวล

นอกจากธรรมทานแล้ว “อามิสทาน” หรือ “วัตถุทาน” ก็ทรงมีพระเมตตาคุณในพระราชหฤทัยเป็นล้นพ้น ได้พระราชทานพระราชทรัพย์และวัตถุสิ่งของต่าง ๆ เพื่อแก้ความทุกข์ยากขาดแคลนทางกายให้แก่พสกนิกรเสมอมา

ในการบำเพ็ญทานบารมีนี้ ได้ทรงบำเพ็ญตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสองทุกประการ คือ ทรงบำเพ็ญครบถ้วนตามคุณสมบัติของทาน ๓ ประการ ได้แก่

คุณสมบัติของทานประการที่หนึ่ง คือ การพระราชทานให้แก่บุคคลที่สมควรได้รับการอนุเคราะห์โดยมิได้ทรงเลือกเชื้อชาติหรือศาสนา

คุณสมบัติของทานประการที่สอง คือ ถึงพร้อมด้วยเจตนาโดยทรงมีพระเมตตาคุณเปี่ยมล้นในพระราชหฤทัยทั้งก่อนการพระราชทาน ขณะพระราชทาน และหลังการพระราชทานแล้ว

คุณสมบัติประการที่สาม คือ วัตถุที่พระราชทานนั้นล้วนเป็นประโยชน์แก่ราษฎรผู้รับพระราชทาน ให้พ้นจากการขาดแคลนได้อย่างไม่มีข้อสงสัย


๒. ศีล

ตลอดระยะเวลาแห่งการทรงผนวช ทรงดำรงพระองค์ได้งดงามบริสุทธิ์ สมควรแก่การเป็นพุทธสาวก จนเป็นที่เลื่อมใสศรัทธา แก่พสกนิกรโดยทั่วหน้า

เมื่อทรงลาผนวชมาอยู่พระราชฐานะแห่งพระมหากษัตริยาธิราชแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงประพฤติอยู่ในศีลโดยบริสุทธิ์ กล่าวคือ ทรงประพฤติพระราชจริยาในทางพระวรกาย และในทางพระวาจาให้สะอาดงดงามถูกต้องอยู่เป็นนิจ ไม่เคยบกพร่อง ไม่ว่าจะเป็นศีลในการปกครอง หรือศีลในทางศาสนาก็ตาม

ในด้านศีลในการปกครอง คือ การประพฤติตามกฎหมายและจารีตประเพณีอันดีงามนั้น ไม่เคยปรากฎเลยว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใช้พระราชอำนาจของพระองค์เหนือกฎหมาย และไม่เคยมีแม้แต่สักครั้งเดียวที่จะทรงละทิ้งจารีตประเพณีอันดีงามของชาติและของพระราชวงศ์ พระเกียรติคุณในข้อนี้เป็นที่ซึมซาบในใจของชาวไทยเป็นอย่างดี นับจากกาลเวลาที่ล่วงผ่านมาตราบจนถึงทุกวันนี้

ส่วนศีลในทางศาสนา อย่างน้อยคือศีลห้าอันเป็นศีลหรือกฎหมายที่ใช้ในการปกครองแผ่นดินมาตั้งแต่อดีตก่อนพุทธกาลนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสมาทานรักษาอย่างเคร่งครัด และทรงสนับสนุนให้พสกนิกรของพระองค์สมาทานรักษาอย่างเคร่งครัด และทรงสนับสนุนให้พสกนิกรของพระองค์สมาทานรักษาเช่นเดียวกัน

สำหรับผู้ที่มิได้นับถือพุทธศาสนา พระองค์ทรงสนับสนุนให้ยึดมั่นตามคำสอนแห่งศาสนาอันตนศรัทธา ด้วยทรงตระหนักว่าทุกศาสนามีหลักคำสอนที่นำไปสู่การประพฤติดี ศาสนาจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการอยู่ร่วมกันของชนหมู่มาก แม้บัดนี้ในการปกครองจะมีกฎหมายอยู่แล้วก็ยังต้องอาศัยศาสนาเป็นเครื่องอุปการะ ด้วยกฎหมายบังคับได้เพียงแค่กาย ส่วนศาสนาสามารถเข้าถึงจิตใจ น้อมนำไปปฏิบัติตามโดยไม่ต้องบังคับ

การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปกครองบ้านเมืองด้วยกฎหมายและศาสนา ประกอบกับการที่ทรงสมาทานศีลอย่างเคร่งครัดดังปรากฎในที่ทุกสถาน ชาวไทยจึงมีความสุขสงบและวัฒนาด้วยศีลบารมีแห่งพระองค์




๓. บริจาค


ในด้านการบริจาค ซึ่งหมายถึงการเสียสละสิ่งที่ไม่มีประโยชน์หรือมีประโยชน์น้อยกว่า เพื่อสิ่งที่มีประโยชน์ใหญ่ยิ่งกว่านั้น ด้วยเหตุที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงยึดถือประโยชน์และความเจริญของชาติ ศาสนา รวมทั้งประโยชน์สุขของพสกนิกร สำคัญยิ่งกว่าพระองค์เอง พระราชกรณียกิจนานัปการจึงเป็นไปเพื่อความพัฒนา และประโยชน์สุขของชาวไทยและสถาบันดังกล่าว

ด้านการศาสนา ทรงรับเป็นองค์อุปถัมภกศาสนาต่าง ๆ อันมีในประเทศไทย และได้พระราชทานทรัพย์เพื่อทะนุบำรุงไปเป็นจำนวนมาก โดยพระพุทธศาสนานั้นทรงมีคุณูปการเป็นอเนกอนันต์ ทั้งในการบูรณะปฏิสังขรณ์ปูชียสถาน อันมีวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นต้น การสร้างถาวรวัตถุ เช่น "พระพุทธรูปปางประทานพร ภปร." และ "พระพุทธนวราชบพิตร" เป็นตัวอย่าง 

โดยเฉพาะพระพุทธนวราชบพิตร ซึ่งเสด็จไปพระราชทานด้วยพระองค์เองแก่ทุกจังหวัดทั่วประเทศนั้น ได้ทรงบรรจุที่ฐานด้วยพระพิมพ์ซึ่งทรงสร้างด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง ประกอบด้วยผงศักดิ์สิทธิ์ทั้งในพระองค์และจากจังหวัดต่าง ๆ นอกจากนี้ยังทรงบำรุงพระพุทธศาสนาในด้านอื่น ๆ อีกนานัปการ ด้วยศรัทธาและปริจจาคะของพระองค์เช่นนี้ จึงไม่น่าสงสัยที่พระพุทธศาสนาจะรุ่งเรืองจนประเทศไทยกลายเป็นแหล่งศึกษาพระธรรม ของชาวต่างประเทศและเป็นแหล่งส่งพระธรรมทูตไปประกาศพระศาสนาในประเทศต่าง ๆ

ในด้านการสงเคราะห์ ได้ทรงเสียสละพระราชทรัพย์ และสิ่งของจำนวนมากมายจนสุดที่จะประมาณได้ เพื่อดับความทุกข์ยากของพสกนิกรในยามประสบภัยพิบัติ และในถิ่นทุรกันดาร

ทรงสละพระราชทรัพย์เพื่อพัฒนาการศึกษาให้แก่เยาวชนไทย โดยโปรดให้มีโครงการจัดตั้งโรงเรียนในถิ่นยากจนต่าง ๆ โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน และทุนอานันทมหิดลเพื่อส่งนักเรียนไทยไปศึกษาต่างประเทศ เป็นต้น

ทรงสละพระราชทรัพย์นับจำนวนไม่น้อย ในการพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์แก่มูลนิธิและสาธารณสถานต่าง ๆ เพื่อประโยชน์สุขของชาวไทย

ทรงเสียสละพระราชทานที่นาของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในจังหวัดต่าง ๆ กว่า ๕๐,๐๐๐ ไร่ ให้เข้าอยู่ในโครงการปฏิรูปที่ดิน เมื่อปี ๒๕๑๘ เพื่อแบ่งปันที่ทำกินให้แก่เกษตรกรที่ยากจน


๔. ความซื่อตรง (อาชชวะ)

ความซื่อตรงนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงปฏิบัติอยู่นิจ ในวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ซึ่งเป็นวันที่ทรงกระทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ได้มีพระปฐมบรมราชโองการแก่พสกนิกรทั่วประเทศว่า 
"เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" วันเวลาที่ล่วงผ่านไปเนิ่นนานจากวันนั้นถึงวันนี้ 66 ปีเศษแล้ว ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงรักษาสัจจะที่ได้พระราชทานให้แก่พสกนิกรทั้งสองประการ มาอย่างสมบูรณ์สม่ำเสมอ พระองค์ไม่เคยทรงทอดทิ้งพสกนิกร ด้วยทรงถือเอาความทุกข์เดือดร้อนของพสกนิกร เป็นความทุกข์เดือดร้อนของพระองค์เอง 

-----------------------------------

พระปฐมบรมราชโองการ
เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
“เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”
วันศุกร์ที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓


๕. ความอ่อนโยน (มัททวะ)

ราชธรรมในข้อมัททวะ หรือความอ่อนโยนนี้ เป็นที่ประจักษ์แก่พสกนิกรมาช้านานแล้วว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชอัธยาศัยอ่อนโยนเพียบพร้อมทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นความอ่อนโยนในความหมายทางโลกหรือความหมายทางธรรม

ความอ่อนโยนในความหมายทางโลก คือความอ่อนโยนต่อบุคคลอื่นในสังคม อันเป็นมารยาทที่บุคคลในสังคมจะพึงปฏิบัติต่อกันเพื่อผลดีในทางสังคม ความอ่อนโยนในความหมายนี้ย่อมชี้ให้เห็นชัดได้ด้วยพระราชจริยาวัตรต่าง ๆ ในที่ทุกสถาน

ส่วนความอ่อนโยนในทางธรรมนั้น มีความหมายกว้างขวางมาก คือ หมายถึงความสามารถโอนอ่อนผ่อนตาม น้อมไป หรือเปลี่ยนไปในทางแห่งความดี ทำให้เกิดการผสมผสานกันอย่างดีในทางการงานและบุคคลแก่บุคคลทุกระดับชีวิต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเข้าถึงธรรมะในข้อนี้เป็นอย่างดี และอย่างถ่องถ้วนทุกระดับขั้น


๖. ตบะ คือความเพียร

ตบะในความหมายหนึ่ง คือ ความเพียรเป็นเครื่องแผดเผาความเกียรคร้าน โดยความหมายนี้จะเห็นได้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบด้วยพระราชอุตสาหะวิริยภาพเป็นอย่างยิ่ง พระองค์ไม่โปรดที่จะประทับอยู่เฉย ทรงพอพระราชหฤทัยในการเสด็จพระราชดำเนินออกทรงเยี่ยมเยียนราษฎรในท้องถิ่นต่าง ๆ แม้ในถิ่นทุรกันดารและห่างไกล ขวางกั้นด้วยผืนน้ำกว้างใหญ่ ป่าทึบ หรือเขาสูงสุดสายตาเพียงเพื่อให้ทรงทราบถึงความทุกข์สุขของราษฎร ด้วยพระเนตรพระกรรณของพระองค์เอง เมื่อทรงทราบแล้วก็มิได้ทรงนิ่มนอนพระราชหฤทัย แต่ได้ทรงมีพระราชดำริริเริ่มสิ่งต่าง ๆ เพื่อขจัดความทุกข์เดือดร้อนของราษฎรทั้งในด้านการอาชีพ ชีวิตความเป็นอยู่ สุขภาพอนามัย การศึกษาและอื่น ๆ ด้วยพระราชอุตสาหะ วิริยภาพเช่นนี้ พระองค์จึงทรงขจัดความขัดข้องความยากจนขัดสนทั้งหลายให้แก่ราษฎรได้โดยทั่วกัน

ตบะ ในอีกความหมายหนึ่ง หมายถึง ความตั้งใจกำจัดความเกียจคร้านและการกระทำผิดหน้าที่ มุ่งทำกิจอันเป็นหน้าที่ที่พึงกระทำ ซึ่งเป็นกิจที่ดีที่ชอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงบำเพ็ญตบะในความหมายนี้ได้อย่างครบถ้วนเช่นเดียวกัน ในพระราชฐานะแห่งพระมหากษัตริยาธิราช ทรงมีหน้าที่ปกครองอาณาประชาราษฎร์ให้ได้รับความร่มเย็น พระองค์ได้ทรงตั้งพระราชอุตสาหะวิริยภาพ ประกอบด้วยปัญโญภาส ปฏิบัติพระราชกรณียกิจให้เป็นไปด้วยดีไม่มีข้อผิดพลาด ทรงมีพระราชดำริริเริ่มโครงการต่าง ๆ เพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกรโดยไม่หยุดยั้ง

ตบะ ในความหมายอีกอย่างหนึ่ง คือ ความเพียรในการละอกุศลกรรม เพียรอบรมกุศลบุญต่าง ๆ ให้บังเกิดขึ้น โดยความหมายนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเพียบพร้อมด้วยพระราชวิริยภาพที่จะทรงเอาชนะความชั่วต่าง ๆ ด้วยความดี 


๗. ความไม่โกรธ (อักโกธะ)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงบำเพ็ญอักโกธะบารมี หรือความไม่โกรธให้เป็นที่ประจักษ์ใจทั้งในหมู่ประชาชนชาวไทย และในนานาประเทศมาเป็นเวลาช้านาน แม้มีเหตุอันควรให้ทรงพระพิโรธยังทรงข่มพระทัยให้สงบได้โดยสิ้นเชิง อย่างที่ปุถุชนน้อยคนนักจะทำได้

การที่ประเทศไทยมีพระมหากษัตริยาธิราชผู้ทรงบำเพ็ญอักโกธะบารมี หรือความไม่โกรธได้อย่างมั่นคงเช่นนี้ จึงทำให้ประเทศไทยสามารถรักษาสัมพันธไมตรีอันดีกับนานาประเทศไว้ได้ตลอดมา พระเกียรติคุณของพระองค์ในข้อนี้จึงเป็นที่ชื่นชมของชาวไทยและชาวต่างประเทศยิ่งนัก


๘. ความไม่เบียดเบียน (อวิหิงสา)

จากอดีตเรื่อยมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ทุกชีวิตบนผืนแผ่นดินไทยได้รับความร่มเย็นมีความเป็นอยู่อย่างสุขสงบ ภายใต้เบื้องพระยุคลบาทแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระผู้ทรงบำเพ็ญอวิหิงสาบารมี คือ ไม่เบียดเบียนให้ผู้อื่นลำบาก ไม่ก่อทุกข์ยากให้แก่ผู้ใดแม้จนถึงสรรพสัตว์ ด้วยเห็นเป็นของสนุกเพราะอำนาจแห่งโมหะหรือความหลง ไม่ทำร้ายรังแกมนุษย์และสัตว์เล่นเพื่อความบันเทิงใจแห่งตน

ในส่วนที่เกี่ยวกับสรรพสัตว์ พระองค์ไม่เคยทรงกระทำการใดให้เป็นที่ทุกข์ยากเจ็บปวด ไม่เคยมีแม้แต่ครั้งเดียวที่จะเสด็จออกประพาสป่าล่าสัตว์ตัดชีวิต จะมีก็แต่การพระราชทานชีวิตให้เท่านั้น ในรูปของโครงการพระราชดำริต่าง ๆ ที่เป็นไปเพื่อการอนุรักษ์ป่า อนุรักษ์แหล่งน้ำและอนุรักษ์สัตว์ เช่น โครงการอนุรักษ์ป่าและสัตว์ป่า เป็นต้น

การบำเพ็ญอวิหิงสาบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งแผ่ไพศาลไปทั่วทุกหนแห่ง จึงปกป้องคุ้มครองชีวิตไม่ว่ามนุษย์หรือสรรพสัตว์ทุกชีวิตบนผืนแผ่นดินไทย จึงดำรงอยู่ได้ด้วยความสุขสงบและร่มเย็น


๙. ความอดทน (ขันติ)
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริยาธิราช ผู้ทรงมีพระขันติธรรมเป็นยอดเยี่ยมอย่างหาผู้ใดเสมอเหมือนมิได้ จากเหตุการณ์ที่ผ่านมาทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศ บางครั้งเป็นเรื่องยากยิ่งสำหรับพระองค์ที่จะทรงอดทนได้ แต่พระองค์ยังทรงอดทนรักษาพระราชหฤทัย พระวาจา พระวรกาย และพระอาการ ให้สงบเรียบร้อยงดงามได้ในทุกสถานการณ์

ทรงอดทนต่อโลภะ คือความอยาก ได้ทุกประการโดยสิ้นเชิง ดังจะเห็นได้ว่าพระองค์ได้เคยมีพระราชประสงค์สิ่งใดจากผู้ใด แม้สิ่งของที่นำมาถวายหากมากเกินไปก็มิได้ทรงรับ เช่น รัฐบาลในสมัยหนึ่งจะถวายรถพระที่นั่งคันใหญ่เป็นพิเศษเพื่อให้สมพระเกียรติยศ แต่พระองค์กลับมีพระราชดำริว่ารถพระที่นั่งน่าจะเป็นรถคันใหญ่พอประมาณและราคาไม่แพงนัก เพื่อจะได้สงวนเงินไว้พัฒนาประเทศได้อีกส่วนหนึ่ง เป็นต้น

นอกจากนี้ยังทรงอดทนต่อโมหะ คือความหลง โดยพระองค์มิได้ทรงติดข้องอยู่ในความสุขสำราญและความสะดวกสบายต่าง ๆ อันพึงหาได้ในพระราชฐานะแห่งพระมหากษัตริยาธิราช

ทรงอดทนต่อความทุกขเวทนา ความลำบากตรากตรำพระวรกายต่าง ๆ เพื่อทรงบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่พสกนิกรทุกแห่งหน

ทรงอดทนต่อความหวาดหวั่นภยันตรายต่าง ๆ ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี ๒๕๑๐ เป็นต้น ซึ่งเป็นระยะที่ผู้ก่อการร้ายกำลังฮึกเหิมพระองค์ก็มิได้ทรงทอดทิ้งทหารตำรวจ ผู้ทำหน้าที่ปกป้องผืนแผ่นดินไทย โดยทรงมีวิทยุติดพระองค์เพื่อทรงรับฟังเหตุการณ์ต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลาทรงสอบถามเหตุการณ์ทางวิทยุอยู่เสมอ และหากทรงว่างจากพระราชภารกิจจะรีบเสด็จไปยังที่เกิดเหตุทันทีเพื่อทรงสอบถามเหตุการณ์ด้วยพระองค์เอง


๑๐. ความเทียงธรรม (อวิโรธนะ)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิบัติพระองค์ถูกต้องตามขัตติยราชประเพณีทุกประการ ไม่เคยทรงประพฤติผิดจากราชจรรยานุวัตรนิติศาสตร์และราชศาสตร์ ทรงปฏิบัติพระองค์ได้อย่างงดงามไม่มีความบกพร่องให้เป็นที่เสื่อมเสียพระเกียรติยศได้เลย

พระองค์ทรงรักษาพระราชหฤทัยได้บริสุทธิ์ปราศจากกิเลสทั้งมวล จึงมิได้ทรงหวั่นไหวต่ออำนาจแห่งอคติใด ๆ อันมีความรัก ความชัง ความโกรธ ความกลัว และความหลง เป็นต้น จึงไม่มีอำนาจใดที่อาจน้อมพระองค์ให้ทรงประพฤติทรงปฏิบัติไปในทางที่มัวหมองไม่สมควร หรือคลาดเคลื่อนไปจากความยุติธรรม ทรงอุปถัมภ์ยกย่องผู้ควรอุปถัมภ์ยกย่อง ทรงบำราบคนมีความผิดควรบำราบโดยทรงที่เป็นธรรม และในพระราชฐานะแห่งองค์พระประมุขของชาติไทยในระบอบประชาธิปไตย

ในด้านพระราชภารกิจต่าง ๆ ทรงปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ไม่มีผิดด้วยทรงสดับตรับฟัง ทรงศึกษา ทรงแสวงหาความรู้ความถูกต้องทั้งจากบุคคล ตำรา จากการที่ทรงสอบค้นด้วยพระองค์เอง และทรงนำมาประมวลใคร่ครวญด้วยพระปัญญา ความรู้ที่ทรงได้จึงเป็นความรู้ที่ชัดแจ้งและถูกต้อง ด้วยเหตุนี้พระราชกรณียกิจใด ๆ ที่ทรงมุ่งผลให้บังเกิดเป็นความผาสุกความเจริญแก่พสกนิกรอย่างใด ก็ย่อมสำเร็จเป็นความผาสุกและความเจริญอย่างนั้น แม้ว่าจะมีบางสิ่งบางอย่างที่จะต้องแก้ไขอันเป็นธรรมดาของการทำงานทั้งปวง ก็ทรงปฏิบัติแก้ไขอย่างรอบคอบให้บังเกิดผลดีและสมบูรณ์ยิ่งขึ้นไปด้วยลำดับ พระราชกรณียกิจของพระองค์จึงมีแต่ความไม่ผิด ดังเช่น ในการพัฒนาประเทศทรงพัฒนาอย่างถูกต้อง คือทรงพัฒนาประเทศไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาประชาชน โดยทรงแนะนำตรัสสอนด้วยพระองค์เองและผ่านทรงโครงการพระราชดำริต่าง ๆ เป็นต้น

นอกจากนี้ในการพัฒนาแต่ละท้องถิ่นพระองค์ยังได้ทรงศึกษาถึงภูมิประเทศ ลมฟ้าอากาศ ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีความเป็นอยู่และความต้องการที่แท้จริงของประชาชน ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นย่อมไม่เหมือนกัน การพัฒนาของพระองค์จึงเป็นการพัฒนาด้วยความเข้าใจ เหมาะสมและเหมาะแก่ความจำเป็นของท้องถิ่นนั้น ๆ การพัฒนาโดยวิธีทางที่ถูกต้องนี้เอง ทำให้การพัฒนาประเทศได้ผลไม่สูญเปล่า สามารถช่วยให้ไพร่ฟ้าหน้าใสได้โดยทั่วหน้ากันสมดังพระราชประสงค์ ทั้งนี้ก็ด้วยการบำเพ็ญอวิโรธนะของพระองค์นี้เอง



เรามีพระมหากษัตริย์ผู้เป็นพุทธมามกะ ผู้ครองแผ่นดินโดยธรรม ทำให้แผ่นดินร่มเย็นเป็นสุข ใต้ร่มพระบารมี ทรงเป็นแบบอย่างของชาวพุทธมามกะ เราควรตามรอยพระบาทยึดปฏิบัติธรรม และอยู่พอเพียง

ที่มา
ราชาเป็นสง่าแห่งแคว้น โดยทศพิธราชธรรม ราชาเป็นสง่าแห่งแคว้น โดยทศพิธราชธรรม Reviewed by bombom55 on 00:10 Rating: 5

19 ความคิดเห็น:

  1. ขอพระองค์จงกลับไปพักที่สวรรค์อย่างสบายใจตลอดกาล

    ตอบลบ
  2. เอกองค์อัครศาสนูปถัมป์ภก เสด็จสู่ฟากฟ้าสุราลัย
    พระมหากรุณาธิคุณจารึกในใจไทยชั่วกาล

    ตอบลบ
  3. สถิตอยู่ในใจตราบนิรันดร์
    น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้

    ตอบลบ
  4. พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้

    ตอบลบ
  5. พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้

    ตอบลบ


  6. เสด็จสู่ฟากฟ้าสุราลัย
    พระมหากรุณาธิคุณจารึกในใจไทยชั่วกาล

    ตอบลบ
  7. พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย
    น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้

    ตอบลบ
  8. พระราชาผู้ทรงทศพิราชธรรม 10 ประการ ไม่มีพระราชาองค์ใดเทียบได้

    ตอบลบ
  9. สถิตย์อยู่ในใจตราบนิจนิรันดร์ น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ ข้าพระพุทธเจ้าในนาม
    ครอบครัวสรวารี

    ตอบลบ
  10. สถิตอยู่ในใจตราบนิรันดร์
    น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้

    ตอบลบ
  11. สถิตอยู่ในใจตราบนิรันด์
    ขอน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ อันล้นพ้น อันหาที่สุดมิได้
    ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ

    ตอบลบ
  12. สถิตอยู่ในใจตราบนิรันด์
    ขอน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ อันล้นพ้น อันหาที่สุดมิได้
    ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ

    ตอบลบ
  13. พระองค์ทรงเป็นอัครศาสนูปภัมภก
    ยอยกพระพุทธศาสนา

    ตอบลบ
  14. ท่านทรงมีทศพิจราชธรรมหาที่สุดมิได้จริงๆ

    ตอบลบ
  15. เราชาวไทยรักชาติศาสน์กษัตริย์
    เรายืนหยัดมุ่งมั่นไม่หวั่นไหว
    เราพี่น้องร่วมร้องเพลงชาติไทย
    เราจะได้ภูมิใจชาติไทยดี
    เราคนไทยรักชาติศาสน์กษัตริย์
    เราถือสัตย์เพื่อชาติเพื่อศักดิ์ศรี
    เราจะร่วมต่อสู้เป็นชาติพลี
    เราจะมีตำนานขานยาวไกล...

    ตอบลบ
  16. เสด็จสู่สวรรคาลัยผองพสกนิกรชาวไทย
    น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณตราบนิจนิรันดร์

    ตอบลบ
  17. เสด็จสู่สวรรคาลัยผองพสกนิกรชาวไทย
    น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณตราบนิจนิรันดร์

    ตอบลบ
  18. สถิตย์อยู่ในใจตราบนิจนิรันดร์ น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้

    ตอบลบ
  19. สถิตอยู่ในใจตราบนิรันดร์
    น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้
    พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย
    น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้

    ตอบลบ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.