พรบ.คณะสงฆ์ การแต่งตั้งเจ้าอาวาสที่ชาวพุทธ ควรรู้เท่าทัน


เพื่อความเข้าใจในข้อกฎหมาย

ที่เป็นพระราชบัญญัติคณะสงฆ์

ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการตั้งเจ้าอาวาส

จึงขอคัดย่อบทความของ คุณพิศาฬเมธ แช่มโสภา 

มาให้ได้ศึกษาเพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับวิเคราะห์ 

ความถูกผิดและสถานการณ์ดังนี้..............


การแต่งตั้งเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ 

: สิ่งที่ชาวพุทธควรรู้  / ศิษย์วัดพระธรรมกายควรศึกษา


๑. การแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส

ตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๙ (พ.ศ. ๒๕๓๖) ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้รักษาการ
แทนเจ้าอาวาส มีดังนี้

เมื่อตำแหน่ง “เจ้าอาวาส” วัดใดวัดหนึ่งว่างลง.. จะด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตาม.. เจ้าคณะจังหวัด จะแต่งตั้งเจ้าอาวาสรูปใหม่ทันทีไม่ได้.. 

เจ้าคณะตำบล ที่ปกครองตำบลที่วัดนั้นตั้งอยู่ จะต้องแต่งตั้ง รองเจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดนั้น ถ้ามีหลายรูป ให้พิจารณาตามลำดับตำแหน่ง แล้วตั้งรูปใดรูปหนึ่ง เป็นผู้รักษาการแทน หรือถ้าไม่มีรองและผู้ช่วยเจ้าอาวาส ให้แต่งตั้งภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เป็นผู้รักษาการแทน

การแต่งตั้งผู้รักษาการแทน จะมีขอบเขตเวลาไม่เกิน ๑ ปี นับจากวันที่แต่งตั้งยกเว้นพื้นที่กันดาร หาภิกษุผู้มีคุณสมบัติตามกฎหมายไม่ได้

๒. ผู้เสนอแต่งตั้ง

ตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๔ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการ ข้อ ๒๗ ประกอบด้วย เจ้าคณะผู้ปกครองที่วัดนั้นตั้งอยู่ (เรียกว่า เจ้าสังกัด) ดังนี้
๑) เจ้าคณะอำเภอ
๒) รองเจ้าคณะอำเภอ (ถ้ามี)
๓) เจ้าคณะตำบล
๔) รองเจ้าคณะตำบล (ถ้ามี)

รวมแล้ว ไม่น้อยกว่า ๓ รูป ร่วมกันพิจารณาคัดเลือก พระภิกษุผู้มีคุณสมบัติ ตามกฎฯ ๒๔ ข้อ ๖ และข้อ ๒๖ แล้วเจ้าคณะอำเภอรายงานเสนอเจ้าคณะจังหวัด เพื่อพิจารณาแต่งตั้ง

กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่๒๔
(พ.ศ.๒๕๔๑)การแต่งตั้งถอดถอน
พระสังฆาธิการข้อ ๖

พระภิกษุผู้จะดำรงตำแหน่งตามข้อ ๔ ต้องมีคุณสมบัติทั่วไป ดังต่อไปนี้

(๑) มีพรรษาสมควรแก่ตำแหน่ง
(๒) มีความรู้สมควรแก่ตำแหน่ง
(๓) มีความประพฤติเรียบร้อยตามพระธรรมวินัย
(๔) เป็นผู้ฉลาดสามารถในการปกครองคณะสงฆ์
(๕) ไม่เป็นผู้มีร่างกายทุพพลภาพ ไร้ความสามารถ หรือมีจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคเรื้อน หรือเป็นวัณโรคในระยะอันตราย จนเป็นที่น่ารังเกียจ
(๖) ไม่เคยต้องคำวินิจฉัยลงโทษ ในอธิกรณ์ที่พึงรังเกียจมาก่อน
(๗) ไม่เคยถูกถอดถอนหรือถูกปลดจากตำแหน่งใด เพราะความผิดมาก่อน

ข้อ ๒๖ พระภิกษุผู้จะดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ต้องมีคุณสมบัติโดยเฉพาะอีกส่วนหนึ่ง ดังนี้
(๑) มีพรรษาพ้น ๕ และ
(๒) เป็นผู้ทรงเกียรติคุณ เป็นที่เคารพนับถือ ของบรรพชิตและคฤหัสถ์ ในถิ่นนั้น..

๓. เจ้าคณะจังหวัดแต่งตั้งตามที่เสนอ

ดังนั้น กรณีการแต่งตั้ง เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย และวัดทั่วไป หากมีรองหรือผู้ช่วยเจ้าอาวาส จึงมีข้อ ๒๖ (๒) .. เป็นหลักในการตัดสิน..

เพราะอะไร.. ?

เพราะเจ้าอาวาสกับโยมรอบวัด รวมทั้งที่อื่นๆ จะต้องไปด้วยกันได้.. ไม่มีความขัดแย้งกัน เพื่อบำรุงวัดและพระสงฆ์ภายในวัด เพื่อความเจริญรุ่งเรือง ของพระพุทธศาสนา.........
Cr. พิศาฬเมธ แช่มโสภา

#การที่จะแต่งตั้งพระรูปอื่น

มาเป็นเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย

แค่คิดก็ผิดแล้ว ถ้าเดาไม่ผิด คิดว่า

น่าจะมีการแก้ไข พรบ.สงฆ์ เร็วๆนี้

เพื่ออะไรคงรู้กันดีอยู่แล้ว


พรบ.คณะสงฆ์ การแต่งตั้งเจ้าอาวาสที่ชาวพุทธ ควรรู้เท่าทัน พรบ.คณะสงฆ์ การแต่งตั้งเจ้าอาวาสที่ชาวพุทธ ควรรู้เท่าทัน Reviewed by bombom55 on 20:54 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.