ขั้นตอนการเสนอแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช.. ผิดหรือไม่ ? ตอนที่ 2

ขั้นตอนการเสนอแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช.. ผิดหรือไม่ ?
: ความจริงที่ชาวพุทธต้องรู้ (๒)
-----------------------------------------------

โพสต์ก่อน (๑) ได้บอกไว้ว่า การแสดงขั้นตอนการดำเนินการที่สำนักงานตรวจการแผ่นดินระบุว่า อยู่ในรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นการอ้างแบบผิดๆ จึงทำให้ข้อมูลที่มีและผลการวินิจฉัยไม่น่าเชื่อถือ  

ยิ่งข้อความต่อไปว่า “… ต้องเริ่มต้นเสนอชื่อผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมโดยนายกรัฐมนตรีก่อน จากนั้นจึงส่งให้ มหาเถรสมาคม เห็นชอบ ดังนั้น มติมหาเถรสมาคม ซึ่งเป็นการประชุมลับ เมื่อวันที่ 5 มกราคม ให้เสนอชื่อสมเด็จช่วง เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เป็นสมเด็จพระสังฆราช จึงเป็นการดำเนินการที่ผิดขั้นตอนของกฎหมาย” ยิ่งไปกันใหญ่

อย่างที่ผมบอกว่า ใครจะเป็นคนเลือกผู้นำของเขา เพราะคณะสงฆ์ก็ถือเป็นกลุ่มหนึ่ง ที่มีสมาชิกประมาณประมาณสามแสนเศษ การจะเลือกผู้นำพระสงฆ์ จะให้ใครทำ ถ้าไม่ใช่สงฆ์เลือกกันเอง  ?

ความจริง ถ้าตัดเรื่องการเมืองออกไปจากพระพุทธศาสนา.. คงไม่มีอะไรซับซ้อนยืดยาวปานนี้ เมื่อเอาการเมืองมายุ่งกับเรื่องพระศาสนา.. จึงเกิดเหตุการณ์ที่บอกได้ว่า ตั้งแต่เกิดมายังไม่เคยเห็นที่ว่า.. 

- ฆราวาสทั้งหัวดำ/หัวหงอก.. ออกมากล่าวหา/ด่า.. องค์กรสงฆ์.. พระสงฆ์ อย่างสาดเสียเทเสีย.. กันอย่างหน้าตาเฉย.. 

- กล่าวหา/ให้ร้าย พระสงฆ์.. เช่นเดียวกับการกล่าวหา/ให้ร้ายกันทางการเมือง 

- ผู้กล่าวหา/ด่า/ให้ร้าย คณะสงฆ์ เป็นกลุ่มการเมืองที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามกับกลุ่มการเมืองที่สนับสนุนคณะสงฆ์

- ใช้วิธีการทำลายล้างคณะสงฆ์เหมือนการทำลายกันทางการเมือง คือ ถ้าไม่ใช่กลุ่มการเมืองฝ่ายข้า เอ็งก็ไม่ดีทุกอย่าง

จนมีผู้กล่าวไว้อย่างสลดใจว่า ประเทศไทยมาถึงยุคที่คนไม่มีปัญญาที่จะแยกแยะความดีความชั่วออกจากกันได้ คนชั่วประกาศตนว่าเป็นคนดี แล้วชี้หน้าฝ่ายตรงข้ามว่าชั่วได้หน้าตาเฉย.. แค่นี้พอ เดี๋ยวจะถูกจับไปเข้าข้างฝ่ายไหนอีก..

บอกได้คำเดียว “ผมอยู่ฝ่ายพระ..ที่ถูกตามพระธรรมวินัย กฎหมาย และจารีตประเพณีของพระ”

ตามที่ได้บอกไว้ในโพสต์ก่อนว่า สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช รับสั่งให้แก้ไข พรบ. คณะสงฆ์ ปี ๒๕๐๕ เป็นแก้ไขเพิ่มเติม ปี ๒๕๓๕ และแก้ไขใช้ อาวุโสโดยสมณศักดิ์ แทน อาวุโสโดยพรรษา อนุวัตรตามฝ่ายบ้านเมือง ใครจะตำหนิอย่างไรก็ว่าไป แต่ให้ระวังว่า จะเป็นการหมิ่นประมาทสมเด็จพระสังฆราชด้วย กฎหมายคุ้มครองพระองค์อยู่ แม้จะสิ้นพระชนม์ไปแล้ว

ขอย้อนกลับไปที่การยกร่างนิดว่า แม้คณะกรรมการกฤษฎีกาจะเป็นผู้ยกร่างแก้ไข พรบ. คณะสงฆ์ ปี ๒๕๐๕ รวมทั้งกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับคณะสงฆ์ แต่การยกร่างนั้น จะมีผู้แทนของมหาเถรสมาคมเป็นที่ปรึกษาและร่วมพิจารณาด้วย เมื่อเสร็จแล้ว ผู้แทนมหาเถรสมาคมรายงานร่างนั้นเสนอมหาเถรสมาคมทราบ ถ้ามีข้อท้วงติง ก็แจ้งผู้แทนไปแก้ไข (แต่ส่วนใหญ่ ไม่มี เพราะผู้แทนมหาเถรสมาคม จะแก้ไขตามความรู้ที่มี และมหาเถรสมาคมจะไม่ส่งคนไม่รู้เป็นผู้แทนเด็ดขาด เพราะทำในนามมหาเถรสมาคม) 

คณะสงฆ์กับรัฐบาลทำงานร่วมกันไปได้ด้วยดีทุกยุคสมัย.. ด้วยการให้เกียรติกันและกันอย่างนี้  

และกรรมการมหาเถรสมาคมในขณะนั้น (๒๕๓๔ - ๒๕๓๕) เท่าที่ตรวจดู ส่วนใหญ่จบเปรียญธรรม ๙ ประโยค จึงการันตีว่า.. เรื่องภาษา ท่านไม่พลาดแน่.. ขนาดผมยังมองออกว่าเป็นอย่างไร จึงไม่ต้องพูดถึงความเชี่ยวชาญของท่าน

ตัวอย่าง เช่น ข้อความว่า พระ ก. มรณภาพ ถ้าเอาพจนานุกรมไทยมาจับ ก็จะถูกต้อง แต่ภูมิปัญญาของมหาเถรสมาคมลึกซึ้งกว่านั้น แม้พจนานุกรมไทยจะบอกว่าถูก ท่านจะใช้ที่ถูกกว่า คือ ใช้เป็น พระ ก. ถึงมรณภาพ

ทำไมจึงเป็นดังนั้น ? เพราะคำว่า มรณภาพ มาจากคำว่า มรณ + ภาพ .. แยกไปอีกว่า มรณ มาจากคำว่า มร (ธาตุ) + ยุ (ปัจจัย) แปลง ยุ เป็น อณ ด้วยอำนาจท้ายธาตุที่ลงท้ายด้วย ร (ถ้าไม่ใช่ ร จะเป็น น เช่น คมน) เป็นศัพท์นามกิตก์ เป็นคำนามก็ได้ วิเศษณ์ก็ได้ แปลว่า การหรือความตาย.. ส่วนคำว่า ภาพ มาจากคำว่า ภาว เป็นศัพท์นาม (มีแยกย่อยได้อีก) แปลว่า ความเป็น เป็นคำนาม 

ทั้ง มรณ และ ภาพ ในภาษาบาลี จึงเป็นคำนามทั้งคู่ เมื่อเป็น มรณภาพ ท่านจึงเติมคำว่า ถึง ซึ่งเป็นคำกริยา เข้าไป เป็น ถึงมรณภาพ ดังนั้น ท่านจึงใช้ว่า พระ ก. ถึงมรณภาพ ซึ่งเป็นประโยคครบสมบูรณ์ คือ พระ ก. เป็นประธาน ถึง เป็นกริยา มรณภาพ เป็นตัวกรรม ขยายกริยา แต่ภาษาไทย ใช้คำว่า มรณภาพ เพราะพจนานุกรมกำหนดให้เป็นกริยา

แค่คำเดียว ก็มองเห็นแล้วว่า ผมอธิบายได้ขนาดนี้ แล้วกรรมการมหาเถรสมาคมในปี ๒๕๓๕ ที่จบ ป.ธ. ๙ ประมาณรุ่นพ่อของพ่อผมได้ คงไม่ต้องบรรยายสรรพคุณถึงความแตกฉานของท่านนะครับ.. 

ขอแถมเป็นความรู้นิดว่า ตั้งแต่มี พรบ.คณะสงฆ์ ๒๕๐๕ มา จะมีกรรมการโดยตำแหน่ง คือ สมเด็จพระราชาคณะ และกรรมการโดยแต่งตั้ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมขึ้นไป แต่งตั้งโดยสมเด็จพระสังฆราช ดำรงตำแหน่งคราวละ ๒ ปี และสามารถได้รับการแต่งตั้งอีกได้ โดยไม่มีข้อจำกัดว่ากี่สมัย  

ธรรมเนียมของการตั้งกรรมการมหาเถรสมาคมโดยแต่งตั้ง คือ เมื่อครบวาระการดำรงตำแหน่ง ก็จะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่อไปจนกว่าท่านจะได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระราชาคณะ ถึงมรณภาพ ลาออก หรือสมเด็จพระสังฆราชมีพระบัญชาให้ออก จึงจะเปลี่ยนตั้งรูปอื่นแทน นี่เป็นจารีตและธรรมเนียมปฏิบัติของมหาเถรสมาคม

ดังนั้น สมเด็จพระราชาคณะเกือบทุกรูป จะเคยดำรงตำแหน่ง กรรมการมหาเถรสมาคม มาก่อน .. ในสมัยผมรับสนองงาน มีสมเด็จพระราชาคณะรูปเดียว ที่เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม โดยไม่เคยได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการมหาเถรสมาคมมาก่อน คือ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสุวรรณาราม

ที่กล่าว เพื่อจะบอกว่า ในด้านการบริหารงาน มหาเถรสมาคมต่างจากรัฐบาล คือ มหาเถรสมาคมบริหารงานคณะสงฆ์มาโดยต่อเนื่อง ตามการแต่งตั้งและการดำรงตำแหน่ง แต่รัฐบาลบริหารโดยมีการผลัดเปลี่ยนรัฐบาลและคณะรัฐมนตรีตลอด ความต่อเนื่องและการถ่ายทอดประสบการณ์จึงแตกต่างกัน

คราวนี้.. เข้าเรื่อง พรบ. คณะสงฆ์ ที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินวินิจฉัย..

แต่ขอเรียนว่า ขณะเขียน ได้เห็นคำวินิจฉัยอย่างเป็นทางการอย่างเป็นทางการหรือเปล่าไม่ทราบ ในเพจนี้
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.986701124748427.1073741879.100941683324380&type=3 (ตามภาพประกอบ)

แต่ยังไม่ชัดเจนว่า จะเป็นจริงหรือไม่ ? 

ถ้าเป็นจริงตามที่เอามาลง ขอแนะนำว่า สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินให้รีบไปนำมาแก้ไขโดยด่วน.. 

เพราะผมจำสำนวนนี้ได้ว่า สำนวนนี้เป็นของผู้ที่บอกว่า ไม่ทราบกฎหมาย .. เป็นผู้เขียน.. และขอยืนยันว่า ที่เขาอ้างว่าไม่รู้กฎหมายนั้น ผมรับรองว่า เขาไม่รู้จริงๆ ครับ.. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องทุกเรื่องที่เกี่ยวกับวัตรปฏิบัติของคณะสงฆ์ ดังนั้น เรื่องกฎหมายคณะสงฆ์จึงถือว่าเป็นศูนย์ แม้ความรู้ทางโลกท่านมีมาก แต่ไม่รู้เกี่ยวกับคณะสงฆ์อย่างแน่ เพราะอ่านดูก็รู้..

ในเอกสาร ๑๑ แผ่นนี้ ขอบอกว่า มีที่ผิดเพียบ.. สนง. ผู้ตรวจฯ จะเอาเอกสารนี้มาแนบหนังสือ แล้วส่งถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง.. รับรองว่า ชื่อเสียงสำนักงานฯ เละเทะแน่….

ที่บอก.. ไม่ได้ขู่หรือดูหมิ่นใดๆ ทั้งสิ้น เพราะมันผิดมากจริงๆ .. ผมไม่อยากให้เอกสารนี้ออกมาอย่างนี้ เพราะจะมีปัญหายืดเยื้อ ต้องตีความกันใหม่  ยกเว้นถ้าสำนักงานฯ ต้องการจะให้ยืดเยื้อ.. เพราะที่อ้างกับที่สรุปมันไม่ไปด้วยกัน

เช่น อ้างอำนาจนายกจะต้องเป็นผู้เสนอรายนามสมเด็จฯ ต่อมหาเถรสมาคมให้ความเห็นชอบ ท่านอ้างแม่น้ำมาเป็นสิบสาย จนคนอ่านงง แล้วมาสรุป ดื้อๆ ว่า นายกจะต้องเป็นผู้เสนอรายชื่อทั้ง ๒ ขั้นตอน.. มันมั่วครับ 

ในขั้นนี้ ผมจะถือว่า เอกสารนี้ยังไม่เป็นทางการ เพราะขาดหนังสือนำ ก็ขอให้รีบแก้ไขเสีย ให้มันออกมาดูดีหน่อย เปลี่ยนคนยกร่างใหม่เถอะ เพราะเจ้าของเพจที่อ้างถึง ที่มีสำนวนคล้ายกับผู้ยกร่าง.. มือยังไม่ถึงที่จะยกร่างครับ..

แต่ถ้าเอาเอกสารนี้เป็นการแถลงเป็นเอกสารอย่างเป็นทางการ จะมีรายการสนุกทางวิชาการมากกว่านี้.. คิดในแง่ดีว่า ไม่น่าจะเป็นอย่างนั้น.. 

ยาวหน่อยเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจ โดยไม่ต้องไปคนคว้าเพิ่มเติม เพราะผมจะนำมาอ้างหมด และผมชอบเขียนแต่ของจริง.. ถ้าสงสัย ก็ตรวจสอบได้.. ทุกข้อมูลที่นำมาอ้าง หรือถามท่านผู้รู้ก็ได้ครับ

ก่อนที่จะอธิบายแบบสบายๆ ขอนำตัวบทกฎหมายที่เป็นหลักมาเสนอ เพื่อความสะดวกในการอ่าน ดังนี้

“มาตรา ๗ พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่ง

ในกรณีที่ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช

ในกรณีที่สมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะรูปอื่นผู้มีอาวุโสโดยสมณศักดิ์รองลงมาตามลำดับ และสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช”

ข้อความในมาตรา ๗ วรรคสอง กำหนดไว้ว่า ในกรณีที่ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช

ข้อความที่เป็นปัญหา คือ 

“…ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ขึ้นทูลเกล้าฯ…”

หากตัดคำว่า “โดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม” ออกไป 

ก็จะเป็นข้อความดังนี้ว่า “…ให้นายกรัฐมนตรีเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ขึ้นทูลเกล้าฯ…”

จะเห็นว่า ไม่มีข้อความใดกำหนดให้นายกรัฐมนตรีเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ เพื่อให้มหาเถรสมาคมให้ความเห็นชอบก่อน แล้วจึงเสนอขึ้นทูลเกล้าฯ …

แล้วสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินหลับหูหลับตาไปหยิบมาจากไหน ผมจึงกล้าบอกว่า การวินิจฉัยของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินจึงไม่ถูกต้อง เพราะไม่มีข้อความใดที่กล่าวถึง หรือให้อำนาจนายกรัฐมนตรีไว้ว่าจะต้องเป็นผู้เสนอนามสมเด็จพระราชาคณะให้มหาเถรสมาคมให้ความเห็นชอบ

หากสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินจะบอกว่า เป็นอำนาจนายกรัฐมนตรี ผมเห็นว่า การตีความนี้เป็นการตีความเกินขอบเขตที่กฎหมายกำหนดไว้ในมาตรา ๗  พูดง่ายๆ คือ ตีความเข้าข้างความเห็นของตนมากกว่า 

และข้อความนี้ก็ชัดเจนว่า ให้นายกรัฐมนตรีเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ขึ้นทูลเกล้าฯ ไม่ใช่ส่งให้มหาเถรสมาคมให้ความเห็นชอบ..

แล้วคำว่า โดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม หมายถึงอะไร ? 

ตรงนี้แหละที่สำนักงานฯ ไม่ทราบ.. รวมทั้งผู้ยกร่างเอกสารวินิจฉัยด้วย..

หมายถึงว่า.. กรรมการมหาเถรสมาคมจะต้องประชุมให้ความเห็นชอบนามสมเด็จพระราชาคณะตามมาตรา ๗ วรรคสอง ตามหลักการที่กล่าวไว้แล้วว่า “พระต้องเป็นผู้เลือกผู้นำพระ เพื่อปกครองพระ” ไม่ใช่ให้ฆราวาสเสนอชื่อพระที่จะปกครองพระให้มหาเถรสมาคมเห็นชอบตาม พรบ.คณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๓๕ 

ถ้าจะให้ฆราวาสเป็นผู้เสนอชื่อสมเด็จฯ ให้มหาเถรสมาคมให้ความเห็นชอบแล้ว ผู้ที่จะคัดค้านเป็นอันดับแรก คือ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ในสมัยนั้น เพราะผิดจารีตประเพณีของคณะสงฆ์ พระองค์และกรรมการมหาเถรสมาคมในยุคนั้น (๒๕๓๔ - ๒๕๓๕) ต้องไม่ยอมให้เกิดแน่นอน.. 

ตรงนี้ จึงบอกว่า สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินและผู้ยกร่างก็ไม่รู้เช่นกัน..   

จะให้ความรู้เพิ่มเติมว่า  การจะเรียกว่า มหาเถรสมาคม ได้ ก็ต่อเมื่อมีการประชุมของกรรมการมหาเถรสมาคมเท่านั้น ถ้าไม่มีการประชุม  แต่ละรูป จะเรียกว่า กรรมการมหาเถรสมาคม เป็นส่วนบุคคล ไม่ใช่มหาเถรสมาคม 

การประชุมมหาเถรสมาคม จะมีผู้สนองงานประชุมคือ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ในฐานะเป็นสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม โดยกฎหมาย

การประชุมมหาเถรสมาคมทุกครั้ง จะเป็นการประชุมลับ (ขอย้ำ) ไม่อนุญาตให้ผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้าประชุม (*ตรงนี้ ขอให้จำใส่กะโหลกไว้ด้วย สำหรับผู้ที่ชอบบอกว่า มส. ลักลอบหรือแอบประชุม*)

มันไม่มีความซับซ้อนอะไรเลย คนธรรมดาอ่านก็รู้เรื่อง ที่เป็นปัญหาคือคนที่รู้กฎหมายตั้งใจให้เกิดความสับสนตรงนี้.. หากสามารถเคลียร์ได้ เขาก็จะเสนอให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตี

ที่มา: พิศาฬเมธ แช่มโสภา
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1542354069397744&id=100008694968507




ขั้นตอนการเสนอแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช.. ผิดหรือไม่ ? ตอนที่ 2 ขั้นตอนการเสนอแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช.. ผิดหรือไม่ ? ตอนที่ 2 Reviewed by bombom55 on 00:10 Rating: 5

1 ความคิดเห็น:

  1. ผิดขัั้นตอนการแต่งตั้ง ตั้งแต่แรกแล้ว หรือกลัดกระดุมเสื้อผิด ต้องเริ่มกลัดกระดุมใหม่

    ตอบลบ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.