เราเชื่อมั่นในความบริสุทธิ์ของหลวงพ่อ นี่แค่ความเชื่อ หรือ เป็นความจริงตามกฎหมาย?
>>>เราเชื่อมั่นในความบริสุทธิ์ของหลวงพ่อ<<<
นี่แค่ความเชื่อ หรือ เป็นความจริงตามกฎหมาย?
เรื่องราวของวัดพระธรรมกายกลายเป็นข่าวฮิตติดชาร์ต หลังจากรัฐบาลประกาศใช้ ม.44 ควบคุมพื้นที่วัด และใส่สารพัดกลยุทธ์ในการจับกุมตัวพระธัมมชโยให้ได้ สิบกว่าวันแล้วที่ชาวธรรมกายถูกกักบริเวณอยู่ในวัด
ทำไม??? พวกเขายังยืนหยัดต่อสู้ให้กับพระธัมมชโย เป็นเพราะความศรัทธาจะบังตาเขาจนงมงาย...เพียงเท่านั้นหรือ???
ย้อนกลับไปเมื่อปีก่อน เราจะได้เห็นชาวธรรมกายพากันเปลี่ยนรูปโปรไฟล์ในเฟซบุ๊คเป็นข้อความในกรอบสีฟ้าขาวว่า “เราเชื่อมั่นในความบริสุทธิ์ของหลวงพ่อธัมมชโย” กระแสศรัทธาที่มากล้นต่อเจ้าอาวาสเป็นที่ประจักษ์ในโลกโซเชี่ยลในพริบตา ด้วยว่าชาวธรรมกายมีอยู่นับล้านคนทั่วโลก ทั้งที่เปิดเผยว่าศรัทธา และประเภทปิดตัวเนียนๆ อยู่ในทุกภาคส่วนสังคม
ความบริสุทธิ์ของหลวงพ่อธัมมชโยที่นอกเหนือจากเหตุผลด้วยแรงศรัทธานั้น ยังมีความบริสุทธิ์ตามกฎหมายอยู่อีกหรือไม่?
นักกฎหมายรู้กันดีว่าจะมีหลัก “ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหา หรือจำเลยไม่มีความผิด จนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระทำความผิด” อันเป็นหลักที่คุ้มครองสิทธิมนุษยชน ดังนั้นหากมีผู้ถูกสงสัยว่าจะทำผิด ก็จะมีการตั้งข้อหา และออกหมายเรียกผู้นั้นมาดำเนินการสอบสวน และเรียกบุคคลนั้นว่าเป็น “ผู้ต้องหา”
ตั้งสติอีกครั้ง
ผู้ต้องหา คือ ผู้ที่ถูกตัดสินว่าทำผิดแล้ว ใช่หรือไม่?
คำตอบคือ 'ไม่'
พูดง่ายๆ ว่า ผู้ต้องหาเป็นเพียงผู้ที่ถูกสงสัยว่าจะทำผิด ส่วนจะทำผิดจริงหรือไม่ ต้องให้กระบวนการของศาลเป็นตัวพิจารณา ระหว่างที่ยังไม่ถูกตัดสินว่าผิด บุคคลผู้นั้นก็ยังเป็น “ผู้บริสุทธิ์” อยู่
เปรียบเทียบง่ายๆ ตอนเด็กๆ เราถูกเพื่อนฟ้องครูว่า “ครูครับๆ ไอ้นี่ขโมยยางลบผมไป ครูก็จะต้องมาถามว่า นี่เธอขโมยจริงไหม มีเพื่อนเห็นว่าเธอขโมยไหม ฯลฯ” ถ้ายังพิสูจน์ไม่ได้ว่าเด็กขโมยยางลบจริง เด็กคนนั้นก็ยังเป็นผู้บริสุทธิ์
>>>กรณีพระธัมมชโยนั้น จึงสามารถมองตามกฎหมายได้ว่า ยังเป็นผู้บริสุทธิ์ เพียงแต่ถูกตั้งข้อสงสัย ว่าน่าจะทำผิด และรอการพิสูจน์เท่านั้น<<<
แต่นั่นแหละนะ คนเราเมื่อได้ยินข่าวว่าน่าจะผิด ใจก็มักโน้มเอียงไปว่าเขาทำผิดแล้ว
เอาว่าพระธัมมชโยจะผิดจริงหรือไม่ ก็เป็นเรื่องที่ต้องรอพิสูจน์กันต่อไป
ดังนั้นหากชาวธรรมกายเขาจะยืนยันว่าหลวงพ่อเขาบริสุทธิ์ เขาก็พูดถูกต้องในแง่กฎหมายเหมือนกันนะ
ย้อนกลับไปเมื่อปีก่อน เราจะได้เห็นชาวธรรมกายพากันเปลี่ยนรูปโปรไฟล์ในเฟซบุ๊คเป็นข้อความในกรอบสีฟ้าขาวว่า “เราเชื่อมั่นในความบริสุทธิ์ของหลวงพ่อธัมมชโย” กระแสศรัทธาที่มากล้นต่อเจ้าอาวาสเป็นที่ประจักษ์ในโลกโซเชี่ยลในพริบตา ด้วยว่าชาวธรรมกายมีอยู่นับล้านคนทั่วโลก ทั้งที่เปิดเผยว่าศรัทธา และประเภทปิดตัวเนียนๆ อยู่ในทุกภาคส่วนสังคม
ความบริสุทธิ์ของหลวงพ่อธัมมชโยที่นอกเหนือจากเหตุผลด้วยแรงศรัทธานั้น ยังมีความบริสุทธิ์ตามกฎหมายอยู่อีกหรือไม่?
นักกฎหมายรู้กันดีว่าจะมีหลัก “ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหา หรือจำเลยไม่มีความผิด จนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระทำความผิด” อันเป็นหลักที่คุ้มครองสิทธิมนุษยชน ดังนั้นหากมีผู้ถูกสงสัยว่าจะทำผิด ก็จะมีการตั้งข้อหา และออกหมายเรียกผู้นั้นมาดำเนินการสอบสวน และเรียกบุคคลนั้นว่าเป็น “ผู้ต้องหา”
ตั้งสติอีกครั้ง
ผู้ต้องหา คือ ผู้ที่ถูกตัดสินว่าทำผิดแล้ว ใช่หรือไม่?
คำตอบคือ 'ไม่'
พูดง่ายๆ ว่า ผู้ต้องหาเป็นเพียงผู้ที่ถูกสงสัยว่าจะทำผิด ส่วนจะทำผิดจริงหรือไม่ ต้องให้กระบวนการของศาลเป็นตัวพิจารณา ระหว่างที่ยังไม่ถูกตัดสินว่าผิด บุคคลผู้นั้นก็ยังเป็น “ผู้บริสุทธิ์” อยู่
เปรียบเทียบง่ายๆ ตอนเด็กๆ เราถูกเพื่อนฟ้องครูว่า “ครูครับๆ ไอ้นี่ขโมยยางลบผมไป ครูก็จะต้องมาถามว่า นี่เธอขโมยจริงไหม มีเพื่อนเห็นว่าเธอขโมยไหม ฯลฯ” ถ้ายังพิสูจน์ไม่ได้ว่าเด็กขโมยยางลบจริง เด็กคนนั้นก็ยังเป็นผู้บริสุทธิ์
>>>กรณีพระธัมมชโยนั้น จึงสามารถมองตามกฎหมายได้ว่า ยังเป็นผู้บริสุทธิ์ เพียงแต่ถูกตั้งข้อสงสัย ว่าน่าจะทำผิด และรอการพิสูจน์เท่านั้น<<<
แต่นั่นแหละนะ คนเราเมื่อได้ยินข่าวว่าน่าจะผิด ใจก็มักโน้มเอียงไปว่าเขาทำผิดแล้ว
เอาว่าพระธัมมชโยจะผิดจริงหรือไม่ ก็เป็นเรื่องที่ต้องรอพิสูจน์กันต่อไป
ดังนั้นหากชาวธรรมกายเขาจะยืนยันว่าหลวงพ่อเขาบริสุทธิ์ เขาก็พูดถูกต้องในแง่กฎหมายเหมือนกันนะ
เราเชื่อมั่นในความบริสุทธิ์ของหลวงพ่อ นี่แค่ความเชื่อ หรือ เป็นความจริงตามกฎหมาย?
Reviewed by bombom55
on
23:25
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: