ฟ้าโน้มชโลมดิน ประทินธรรมให้ทวยราษฎร์



ฟ้าโน้มชโลมดิน ประทินธรรมให้ทวยราษฎร์

ภาพ เล่าเรื่องพระเจ้าแผ่นดิน เนื่องในโอกาสมหามงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ ๗๐ ปี ในวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๙ และยังทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลก 

" Loyal greetings to His Majesty the King on the occasion of His Majesty’s 70th year accession to the throne in June 9, 2016 and His Majesty has earned distinction as the world’s longest-reigning monarch. Long live His Majesty "

"...ฉันจะอยู่ถึง ๑๒๐ ปี จะอยู่จนฉลองพระราชพิธีครองสิริราชสมบัติครบ ๑๐๐ ปี..." นั่นคือพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีต่อท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ รองราชเลขาธิการ เวลาจัดถวายพระพรและขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตที่จะถวายพระพรว่า ขอให้พระองค์ทรงพระเจริญ มีพระชนมพรรษาเกินกว่า ๑๐๐ พรรษา 

ซึ่งท่านผู้หญิงบุตรีได้กรุณาอัญเชิญกระแสพระราชดำรัสดังกล่าวมาเล่าให้อาจารย์เผ่าทอง ทองเจือ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดีคนหนึ่งของไทยฟัง อาจารย์เผ่าทองอัญเชิญกระแสพระราชดำรัสนี้มาเล่าให้แขกกลุ่มหนึ่งของไทยธนาคารฟังเมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายนที่ผ่านมา 

แม้การฉลองครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ที่เริ่มตั้งแต่วันที่ ๘-๑๒ มิถุนายน ๒๕๔๙ ที่ผ่านพ้นไปแล้ว แต่ได้สร้างความปลื้มปีติและความประทับใจแก่ปวงชนชาวไทยไม่รู้ลืม แต่เบื้องหลังงานพระราชพิธียังมีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่เป็นความรู้และน่าสนใจอย่างยิ่ง ไทยธนาคารได้จัดงานย้อนรำลึกถึงงานพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี โดยเชิญอาจารย์เผ่าทองมาเป็นวิทยากร เล่าแบบเจาะลึกในทุกพระราชพิธี เพื่อให้ปวงพสกนิกรได้ซาบซึ้งและอิ่มใจมากยิ่งขึ้น 

อาจารย์เผ่าทอง เล่าว่า... งานฉลองพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครองสิริราชสมบัติครบ ๒๕ ปี เรียกว่า รัชดาภิเษกสมโภช ครองราชย์ครบ ๕๐ ปี เรียกว่า กาญจนาภิเษกสมโภช หากครองสิริราชสมบัติครบ ๗๕ ปี จะเรียกว่า ฉลองพระราชพิธีพัชราภิเษก แต่งานฉลอง ๖๐ ปีครั้งนี้ พระเจ้าอยู่หัวยังไม่ทรงนับเป็นไดมอนด์จูบิลี แต่เมื่อฉลองครบ ๑๐๐ ปี ก็จะเป็นพระราชพิธีที่สำคัญมากที่สุด เรียกว่า อมรินทร์ภิเษกสมโภช #หนังสือพิมพ์ สยามรัฐ วันเสาร์ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙ 

ตามประเพณีที่มีมาแต่โบราณนั้นเมื่อพระมหากษัตริย์ทรงครองราชย์ยาวนานครบ ๒๕ ปี ก็จะมีการเฉลิมฉลอง หรือพิธีขึ้นเสวยราชย์ของพระจ้าแผ่นดินที่เรียกว่า รัชดาภิเษก (Silver Jubilee) คำว่า รัชดาหรือรัชต มีความหมายว่า เงิน (สนธิกับคำว่า อภิเษก) ซึ่งในรัชกาลปัจจุบัน ได้เกิดขึ้นไปแล้ว เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๑๔ และรัฐบาลในสมัยนั้นก็ได้ตั้งชื่อ สิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์ที่ทุกคนคุ้นเคยชื่อกันดีอย่างหนึ่ง ก็คือถนนรัชดาภิเษก ในกรุงเทพมหานคร 

เมื่อครองราชย์ครบ ๕๐ ปี ก็จะมีการเฉลิม ฉลองหรือพิธีการสำคัญที่เรียกว่า กาญจนาภิเษก (Golden Jubilee) กาญจน แปลว่า ทอง ซึ่งได้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๙ โดยก่อนที่จะมีพิธีกาญจนาภิเษก นั้นก็ได้มีการเฉลิมฉลองการครองราชย์ ที่เรียกว่า รัชมังคลาภิเษก ในวาระที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน ได้ดำรงสิริราชสมบัติมายาว นานยิ่งกว่าพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ในอดีต เมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ 

ซึ่งในประวัติศาสตร์ของชาติไทยก่อนหน้านี้ พระมหากษัตริย์ที่ทรงครองราชย์ยาวนานที่สุดในสมัยกรุงศรีอยุธยา ก็คือสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ครองราชย์นาน ๔๐ ปี ( พ.ศ. ๑๙๙๑-๒๐๓๑) 

และในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ก็คือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ครองราชย์ยาวนานถึง ๔๒ ปี (พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๕๓) 

ดังนั้นในวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ จึงเป็นวาระที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดำรงสิริราชสมบัติมานานเกิน ๔๒ ปี และมีการเฉลิมฉลอง รัชมังคลาภิเษก ขึ้น 

ลำดับพระราชพิธีที่ผ่านมาและกำลังจะเกิดขึ้น

           ๑. วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๔ พระราชพิธีรัชดาภิเษก (Silver Jubilee) ฉลองครองราชสมบัติครบ ๒๕ ปี 

           ๒. วันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก วาระที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวดำรงสิริราชสมบัติมานานเกิน ๔๒ ปี (มากกว่าพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์นับตั้งแต่แผ่นดินกรุงศรีอยุธยาจวบจนถึงแผ่นดินกรุงรัตนโกสินทร์) 

           ๓. วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๙ พระราชพิธีกาญจนาภิเษก (Golden Jubilee) ฉลองครองราชสมบัติครบ ๕๐ ปี 

ในการที่ทรงใช้ Golden Jubilee นี้ทรงรับพระราชนิยมตามพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงจัดงานครบ ๒๕ ปี วันครองราชย์ เมื่อจุลศักราช ๑๒๕๕ (ตรงกับ พ.ศ.๒๔๓๖) โดยมีพระราชดำริว่า การที่พระเจ้าแผ่นดินชาวตะวันตก ฉลองการครองราชย์ครบ ๒๕ ปี และ ๕๐ ปี ที่เรียกว่า Silver Jubilee และ Golden Jubilee นั้น เป็นพิธีที่ดี เป็นการทำเพื่อความสิริมงคล สมควรรับหลักการมาประกอบกับพระราชพิธีไทยได้ 

นอกจากนี้ยังทรงแปลคำ Silver Jubilee อย่างไพเราะ พระราชพิธีรัชดาภิเษก รัชดา แปลว่า เงิน อภิเษก ตามศัพท์เดิมหมายถึง "การรดน้ำ" แต่ภายหลังนำมาใช้เปลี่ยนความหมายเป็น พระราชพิธีขึ้นครองราชสมบัติของพระเจ้าแผ่นดิน โดยที่การจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปีเป็นครั้งแรก ยังไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ของชาติไทย 

          ๔. วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙ พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี 

          ๕. วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙ พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๗๐ ปี

          ๖. พระราชพิธีพัชราภิเษก (Diamond Jubilee) ฉลองครองสิริราชสมบัติครบ ๗๕ ปี จะเกิดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๖๔ 

          ๗. พระราชพิธีอมรินทราภิเษก (platinum jubilee) ฉลองครองสิริราชสมบัติครบ ๑๐๐ ปี จะเกิดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๘๙ 

เอกสารอ้างอิง #บทความเรื่องกาญจนาภิเษก ซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ฉบับประจำวันอังคารที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๒๘ (หน้า ๘) 

#สิริเดชะกุล http://www.chaipat.or.th/site_content/40-17/38-1.html 
#หนังสือพิมพ์ สยามรัฐ วันเสาร์ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ขออาราธนาคุณพระรัตนตรัยและสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย รวมทั้งพระสยามเทวาธิราช และพลังแห่งความยึดมั่นในชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ จงคุ้มครองดลบันดาลให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ และพละ ขอให้มีกำลังใจกล้าแข็ง กำลังกายสมบูรณ์แข็งแรง จะได้สามารถเผชิญและเอาชนะอุปสรรคทั้งมวล และยังความสุขให้เกิดแก่พระองค์ทั้งสองรวมถึงราชวงศ์และบ้านเมืองสืบไป ขอนอบน้อมเคารพสักการะองค์พระพุทธรัตนะ ซึ่งเป็นธรรมะโอสถวิเศษประเสริฐล้ำเลิศอุดม พระทรงสั่งสมพระบารมี บำเพ็ญประโยชน์ อำนวยความสุขสวัสดิ์ แก่ทวยเทพและมวลมนุษย์ สุดจะนับ จะคณนา หาประมาณมิได้ ด้วยเดชะแห่งพระพุทธรัตนะ ซึ่งเป็นที่พึ่ง ที่กำจัดภัยได้จริง ขอจงขจัด อุปัทวันตราย และความทุกข์ทั้งหลาย ที่มาพ้องพาน ให้ สูญสลายหายไปโดยพลัน มีแต่ความสุขกายสำราญใจ ในที่ทุกสถาน ในกาลทุก เมื่อ เทอญ น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ ขอพระองค์ทรงพระเจริญ เป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทยสืบไป ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ นิทรรศการพลังแผ่นดิน อัศจรรย์งานศิลป์ แผ่นดินสยาม 



ฟ้าโน้มชโลมดิน ประทินธรรมให้ทวยราษฎร์ ฟ้าโน้มชโลมดิน ประทินธรรมให้ทวยราษฎร์ Reviewed by bombom55 on 21:59 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.