ผ่าหลวงปู่พุทธะอิสระ (ตอนที่ 2 คดีธรรมกาย)
ผ่าหลวงปู่พุทธะอิสระ
(ตอนที่ 2 คดีธรรมกาย)
เมื่อวานอ้างถึงคลิปที่ปู่พูดถึงธรรมกาย วันนี้คงต้องลงรายละเอียดกันเยอะสักหน่อยครับ (เตรียมเหนื่อยได้)
(คลิป พุทธอิสระ เปิดไตรปิฎก ลากไส้ธัมมชโย และผองเพื่อน (เผื่อจะดู)
พุทธอิสระ เปิดไตรปิฎก
ลากไส้ธัมมชโย และผองเพื่อน
เรื่องราวที่จะอ่านต่อไปนี้อาจจะยากไปบ้างเพราะเป็นเรื่องต้องอ้างถึงกฎเกณฑ์ทางธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคม (ดีที่มีกฎหมายน้อย ไม่งั้นยุ่งตายแน่) อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเพราะเป็นพระธรรมวินัยซึ่งเป็นของสูง เกี่ยวข้องถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผมคงต้องจริงจังสักหน่อย อย่างน้อยต้องเรียบร้อยขึ้นบ้าง ภาษาก็ต้องสุภาพให้ความเคารพ ขืนเขียนอย่างโหมดเมื่อวานก็จะหาว่าผมเล่นเกินไป
ถ้าภาษาแรงที่ใช้เมื่อวาน เปรียบเหมือนผมนุ่งกางเกงขาสั้นเคียนผ้าขาวม้า วันนี้ก็ต้องเปลี่ยนมาใส่สูทกันละครับ เพื่อแสดงความเคารพพระธรรมวินัย
มาเริ่มกันครับ...
หลังจากปู่บอกว่า "สิ่งที่ฉันทำฉันพูดมันเป็นเรื่องจริงทั้งนั้น" ปู่ก็เริ่มยกตัวอย่างประกอบ โดยเนื้อหาจะวนไปวนมา เดี๋ยวพูดเรื่องนั้น กระโดดไปเรื่องนี้ บางทีไปเรื่องพระวินัย บางทีไปเรื่องมหาเถรสมาคม และวนกลับไปที่พระลิขิต พาดไปถึงอัยการ พาลให้คนฟังที่ไม่ทราบความจริงสับสน เพราะ Timeline ปู่วกวนเหลือเกิน
เหมือนการหยิบกระดาษในถังขยะมาเรียงต่อกัน จากกระดาษหนังสือพิมพ์ ต่อด้วยกระดาษทิชชู มากระดาษห่อทอฟฟี่ ไปที่กระดาษ A4 แล้ววนกลับมาที่กระดาษหนังสือพิมพ์ใหม่อีกที อะไรทำนองนี้ครับ
ยกตัวอย่างเช่น เมื่อพิธีกรถามถึงการดำเนินคดีทางสงฆ์
ปู่เล่าว่า : "เขาก็ตั้งอธิกรณ์ (เรื่องที่เกิดขึ้นโดยสงฆ์ต้องจัดการให้เสร็จ) ค้างไว้ สอบให้นำทรัพย์คืน ให้เปลี่ยนแปลงคำสอน ระหว่างสอบก็มีพักตำแหน่งเจ้าอาวาส พออัยการไม่ฟ้องก็มอบตำแหน่งคืนให้ จนสมเด็จพระญาณสังวรทรงเบื่อหน่าย ไม่ร่วมประชุมตั้งแต่วันนั้นเลย"
ผมพยายามทำความเข้าใจในสิ่งที่ปู่พูด ไม่ติดใจที่ปู่ลำดับเรื่องราวผิด ถือซะว่าเป็นเรื่องจุกจิกเล็กน้อยไม่ควรใส่ใจ อย่างข้างบนนั่น ปู่ใช้เวลาเล่าแค่ 10-20 วินาที แต่ในเวลาจริงมันหลายปี และเหตุการณ์ก็ไม่ได้เป็นตามลำดับที่ปู่เล่ามา
คุณรู้ไหมครับว่าตรงไหน ?
ผมเดาว่าร้อยละ 95 ไม่น่าจะตอบได้ ก็เพราะคุณไม่รู้รายละเอียดตรงนั้น แต่ฟังแล้วน่าเคลิ้มตามใช่ไหมครับ ไม่น่าแปลกหรอก ก็เหมือนเราไม่เคยไปอเมริกา คนเคยไปเขาเล่าหรือพูดอะไรมามันก็ชวนน่าเชื่ออยู่
ที่ต้องพูดตรงนี้เพราะคุณจะได้ชั่งใจในเรื่องอื่น ๆ ที่ปู่เล่า ว่ามันต้องเอาอะไรหาร จะจริง 7 เท็จ 53 หรืออย่างไรจะได้เผื่อใจไว้หน่อย
อย่างที่ปู่เล่าข้างบน เรื่องจริงที่เกิดขึ้น คือ
1. อธิกรณ์ที่ว่าค้างไว้ เริ่มเมื่อ 13 มิถุนายน 2543
2. พักตำแหน่งเจ้าอาวาสพระธัมมชโยเมื่อ 8 ธันวาคม 2542
3. อัยการถอนฟ้องเมื่อ 21 สิงหาคม 2549
4. พระสังฆราชไม่ได้เข้าร่วมประชุมตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม 2542
เมื่อเรียงลำดับให้ถูกต้อง ก็จะได้ 4-2-1-3 คือ
4. พระสังฆราชไม่ได้ร่วมประชุม (ปี 2542)
2. พระธัมมชโยถูกพักตำแหน่งเจ้าอาวาส (ปลายปี 2542)
1. เริ่มอธิกรณ์ที่ว่าค้างไว้ (ปี 2543)
3. อัยการถอนฟ้อง (ปี 2549)
ปวดหัวกับที่ปู่เล่าไหมครับ
เพื่อไม่ให้คุณและผมงงไปซะก่อน ก็จะไม่เล่าตามปู่ แต่ขอเรียงใหม่ เพราะ Timeline สำคัญมากครับ
นอกจาก Timeline แล้ว บริบทของเรื่องที่กำลังพูดอยู่ก็สำคัญไม่แพ้กันเลย คือ
1. กำลังพูดในด้านธรรมวินัย หรือ
2. พูดในด้านกฎมหาเถรสมาคม หรือ
3. พูดในด้านกฎหมาย หรือ
4. ควบกันไประหว่างกฎมหาเถรสมาคมกับกฎหมายพร้อมกัน
ต้องแยกกันให้ชัดครับ ถ้าปนกันมันจะมั่ว แบบที่ปู่จับชนกันไปมา ที่จริงก็พอได้บ้าง แต่ถ้าแยกกันก่อนจะชัดเจน (สำหรับพระ สำคัญที่สุด คือ 1-2-3 ตามลำดับ)
สำหรับคนอ่านก็ควรใช้วิจารญาณให้ดี เพราะเรื่องกฎกติกามันตีความได้หลากหลาย จะหาคนเข้าใจทะลุปรุโปร่งจริง ๆ ไม่ง่ายเลย
สิ่งที่ปู่พูดถึง หลัก ๆ คือ เรื่องอธิกรณ์ที่เกิดกับพระธัมมชโยเมื่อปี 2542 โน่นครับ ว่าท่านต้องปาราชิก เหตุผลใหญ่คืออ้างเอาพระลิขิตมาใช้ แต่มหาเถรสมาคมกลับไม่ดำเนินการอะไร อ้างแต่ว่าเมื่อคดีทางโลกสิ้นสุดลงแล้ว คดีทางธรรมก็ยุติด้วย จะรื้อฟื้นขึ้นมาอีกไม่ได้เพราะจะผิดพระวินัย ปู่จึงยกเอาสิกขาบทในวินัยที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้มาอ้าง ว่าที่จริงรื้อได้ไม่ผิดสักหน่อย มหาเถรสมาคมทำไม่ถูก ที่เห็นคำสั่งถอนฟ้องของอัยการสำคัญกว่าธรรมวินัย
และแน่นอน ปู่อยากจะรื้ออธิกรณ์นั้นขึ้นมาใหม่อีกครั้ง เพื่อให้พระธัมมชโยต้องอาบัติปาราชิกตามพระลิขิตให้ได้
อธิกรณ์ที่เขากล่าวหาพระธัมมชโยว่าต้องอาบัติ เอาเฉพาะปาราชิกนะครับ อาบัติอื่นไม่ใช่เรื่องใหญ่ คือ
1. ปาราชิกเพราะยักยอกทรัพย์และที่ดินของวัด (ปาราชิกข้อ 2)
2. ปาราชิกเพราะอวดอุตริมนุสสธรรม (ปาราชิกข้อ 4)
ก่อนอื่นเราต้องมาลำดับเรื่องราวสักนิดหนึ่งก่อน จะได้ไม่สับสนเวลาฟังปู่เล่า จากนั้นจึงค่อยสางกันเป็นเรื่อง ๆ ไป ว่าปู่พูดถูกหรือผิดกันแน่นะครับ
อ่านแล้วอาจเมื่อยสมองหน่อย แต่พยายามอ่านเถอะ เพราะต่อไปจะคุยกันง่ายขึ้น เนื้อหาเหล่านี้ ผมนำเกือบทั้งหมดมาจากหนังสือ "วิเคราะห์นิคหกรรมธรรมกาย" ที่อาจารย์แสวง อุดมศรี เขียนรวบรวมไว้ ผมชอบ เพราะเป็นข้อมูลที่เป็น Fact ตรงไหนเป็นความเห็นก็แยกแยะ และเขียนให้เหตุผลแบบนักวิชาการ มีเวลาขอแนะนำให้อ่านกันครับ
1. (30 พฤศจิกายน 2541) กรมการศาสนาเสนอขอหารือ (ก็คือโจทนั่นแหละ) เรื่องวัดพระธรรมกายในที่ประชุมมหาเถรสมาคม 4 เรื่อง คือ ก่อสร้างใหญ่โต, ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของวัดกว้างขวาง, อวดอ้างอภินิหารหลวงพ่อสด และรวบรวมเงินบริจาคจำนวนมาก
ที่ประชุมมอบหมายให้ "พระพรหมโมลี" (วิลาศ ญาณวโร) วัดยานนาวา เจ้าคณะภาค 1 ในฐานะเจ้าคณะปกครองไปพิจารณาดำเนินการ
2. พระพรหมโมลีเดินทางไปดูความจริงที่วัดพระธรรมกาย พบและสอบถามทุกเรื่องที่สงสัยกับพระธัมมชโย เจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส และเจ้าหน้าที่ทั้งพระและโยมอย่างตรงไปตรงมา
3. ขณะท่านสรุปเรื่องราวอยู่นั้น (24 ก.พ. 2542) กระทรวงศึกษาธิการส่งเรื่องปัญหาวัดพระธรรมกายมาเสนอ มส. และ (5 มี.ค. 2542) คณะกรรมาธิการการศาสนา ฯ สภาผู้แทนราษฎร เสนอเรื่องของวัดเข้ามาอีก (รวมทั้งหมด 3 ส่วน คือจากกรมการศาสนา, กระทรวงศึกษาฯ และกรรมาธิการ สภาผู้แทน)
ที่ประชุม มส. มอบหมายให้พระพรหมโมลีนำเอกสารทั้งหมดไปประมวลพิจารณาแล้วเสนอเจ้าคณะใหญ่หนกลาง
4. (9 มี.ค. 2542) พระพรหมโมลีสรุปผลรายงานต่อสมเด็จพระมหาธีราจารย์ เจ้าคณะใหญ่หนกลาง วัดชนะสงคราม ให้วัดพระธรรมกายปรับปรุงการทำงาน 4 ข้อ ซึ่งวัดยอมรับนำไปปฏิบัติตามทั้งหมด คือ
1). ให้มีการเรียนการสอนพระอภิธรรม
2). ให้บำเพ็ญวิปัสสนากัมมัฏฐานตามคัมภีร์
3). ให้สำรวมระวังในพระธรรมวินัย
4). ให้ปฏิบัติตามกฎมหาเถรสมาคม
5. (11 มีนาคม 2542) นำรายงานนั้นเสนอ มส. แต่ มส.บอกว่าเรื่องนี้ละเอียดอ่อน ให้กรรมการแต่ละรูปเอาข้อมูลทั้งหมดไปศึกษา ใครมีความเห็นเพิ่มเติมอย่างไรให้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรเสนอ มส. มาอีกที
6. (22 มี.ค. 2542) หลังจากกรรมการ มส.แต่ละรูปมีข้อเสนอเพิ่มเติมแล้ว ที่ประชุมมีมติ "เห็นชอบ" คือ "ถูกต้องแล้ว" ตามที่พระพรหมโมลีเสนอมา ในที่ประชุมนี้มีสมเด็จพระญาณสังวร พระสังฆราชเป็นประธานในที่ประชุม มตินี้ ถือว่าเป็นที่สุด เรื่องทั้งหมด "จบลงแล้ว" ตามกฎมหาเถรสมาคม
โดยเฉพาะในกรณีต่าง ๆ ที่ 3 หน่วยงานส่งมา ไม่มีเจ้าทุกข์หรือผู้เสียหายกล่าวโทษด้วย จึงเป็นอันว่าจบจริง ๆ
7. แต่มีเรื่องขึ้นมาในที่ประชุม คือ พระสังฆราชยื่นกระดาษแผ่นหนึ่งมีข้อความ 6 บรรทัดให้สมเด็จเกี่ยว วัดสระเกศ อ่านในที่ประชุม ท่านก็อ่านแบบงง ๆ เพราะไม่ทราบว่าเป็นของใคร มุ่งหมายอะไร เพราะหัวกระดาษไม่มีตราอะไร และไม่มีการลงนามใด ๆ ทั้งสิ้น (นี่คือจุดเริ่มต้นของพระลิขิต แต่ มส.จะเรียกพระดำริ)
อีก 4-5 วันต่อมา เริ่มมีการพูดถึงเอกสารนี้ และมีการกระจายไปถึงผู้สื่อข่าว จากนั้นก็เริ่มมีพระลิขิตตามออกมาเป็นระยะ ๆ รวม 6 ฉบับ
8. ระว่างที่พระลิขิตยังไม่ได้นำเข้าสู่ที่ประชุม มส. (10 พ.ค.) ก็มีออกไปตามสื่อ (ได้มาอย่างไรไม่รู้) และเริ่มมีพระและฆราวาสเอาพระลิขิตไปโหมกระพือเป็นข่าวกดดันให้ มส.ทำตามพระลิขิต คือปรับอาบัติปาราชิกพระธัมมชโย
แต่แปลกมากที่แต่ละฉบับไม่มีการเอ่ยชื่อพระธัมมชโยเลยสักที่เดียว มากที่สุดคือใช้คำว่าอดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย (ซึ่งขณะนั้น พระธัมมชโยยังเป็นเจ้าอาวาสอยู่ เลยไม่รู้ว่าอดีตเจ้าอาวาสคือใคร) ถ้าจะว่าแปลกก็แปลก ที่จะว่าโจทก็ไม่ใช่ จะว่าไม่โจทก็ไม่เชิง คือให้เข้าใจกันเอาเองว่าหมายถึงใคร ซึ่งไม่น่าใช้เป็นทางการได้นะผมว่า จึงทำให้เกิดข้อกังขาในพระลิขิตมากมาย
นายอำนาจ บัวศิริ ผู้อำนวยการสำนักงานพุทธมณฑลกล่าวถึงพระลิขิตในงานเสวนาวันที่ 7 พ.ค. 2542 ว่า ทราบไหมว่าฉบับที่ 3-4 ที่ออกมา ส่งมาเป็นโรเนียว แล้วฝากคนขับรถมาไว้ที่กรมการศาสนา ซึ่งเราไม่รับ พออีกวันจึงมีหนังสือนำจากเลขานุการสมเด็จพระสังฆราชตามมา
ส่วนบรรดาพระและโยมที่นำเรื่องพระลิขิตไปพูดกดดัน นายอำนาจเรียกพวกนี้ว่า "นักกิจกรรมเชิงปริยัติ" ซึ่งมีไม่กี่คน เพียงแต่รู้จักจัดฉากสลับบุคคลและสถานที่แสดงเพื่อให้ดูหลากหลายขึ้น แต่ละครั้งจะแจ้งผู้สื่อข่าวโทรทัศน์ วิทยุ สื่อสิ่งพิมพ์ ให้ไปทำข่าว
ซึ่งช่วงนั้นมีพระโยมหลายท่านออกมาแสดงความเห็นไปในทางเดียวกัน คือ มส. ต้องสนองงานตามพระลิขิต เอ่ยชื่อก็ได้ จะได้จำกันไว้นะครับว่าใครเป็นใคร เช่น
พระพยอม กลฺยาโณ, พระมหาจรรยา สุทฺธิญาโณ, พระมหาต่วน สิริธมฺโม, พระมหาบุญถึง ชุตินฺธโร, พระศรีปริยัติโมลี, พระราชกวี, พระไพศาล วิสาโล, พระปัญญานันทภิกขุ
นพ.ประเวศ วะสี, ดร.ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์, เสฐียรพงษ์ วรรณปก (ช่วงปลดพระพรหมโมลี), ม็อบ อย่างเช่น กลุ่มพุทธศาสนิกชนไทย, กลุ่มคณะกรรมการการศาสนาเพื่อการพัฒนา (ศพพ.), กลุ่มปกป้องพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นเหมือนม็อบรับจ้าง ใช้ถ้อยคำวิธีหยาบคาย บางครั้งมาพร้อมสภาพเมามาย ไม่ได้คล้ายชาวพุทธสักนิดเดียว หรือกลุ่มสันติธรรม เป็นต้น
9. (9 พ.ค. 2542) วันก่อน มส.ประชุม พระพยอม และพระไพศาล วิสาโล กับกลุ่มม็อบเดิมบางกลุ่ม ทำพิธีคว่ำบาตร (ไม่คบค้าสมาคม) และลงปัพพาชนียกรรม (ขับไล่) พระธัมมชโย ที่ลานวัด วัดสวนแก้ว โดยอ่านคำกล่าวโทษมากมาย มีประโยคที่น่าสนใจ เช่น "ดังที่ท่านทั้งหลายทราบดีว่า ความเป็นพระ
ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ไม่ได้ขึ้นกับพระธรรมวินัยอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับความยอมรับของประชาชนด้วย"
555 เอาเข้าไปครับ ตอนนี้ไม่เอาพระธรรมวินัยขึ้นมาซะอีกแล้ว เอาใจกันยากจริง
"การคว่ำบาตร" พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้สงฆ์ทำกับฆราสวาสเท่านั้น ไม่ใช่ให้มาทำกับพระด้วยกันนะครับ มันผิดธรรมวินัย
รวมทั้ง "ปัพพาชนียกรรม" ก็เป็นสังฆกรรมของพระ ต้องทำในเขตสีมา (ไม่ใช่ลานวัด) และสงฆ์เป็นผู้ทำต่อหน้าผู้ทำผิด ไม่ใช่เอาม็อบมาร่วมด้วย นี่ก็ผิดธรรมวินัย
สรุปว่ามั่วได้ใจด้วยกันทั้งคู่เลย
10. (10 พ.ค. 2542) ก่อน มส.ประชุม สำนักงานเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช แจ้งว่าทรงประชวร จะไม่เข้าร่วมประชุม และได้แจกจ่ายเอกสารพระลิขิตฉบับสุดท้าย ส่วน ม.ล.จิตติ นพวงษ์ ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวถึงเหตุที่พระสังฆราชไม่ทรงเข้าร่วมประชุมด้วย
11. (10 พ.ค. 2542) มส.ประชุมโดยมีสมเด็จเกี่ยวเป็นประธาน และมีการพิจารณาพระดำริทุกฉบับที่ออกมา ด้านนอกก็มีม็อบหน้าเดิม ๆ 2-3 กลุ่มมาจัดกิจกรรมและรอฟังผล สุดท้ายที่ประชุมมีมติว่า "มหาเถรสมาคมมีมติสนองพระดำริมาโดยตลอด แต่ให้ชอบด้วยกฎหมาย พระธรรมวินัย และกฎมหาเถรสมาคม"
หลังรู้ผลการประชุม พระพยอมให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าว ตำหนิ มส.ที่ไม่สนองพระดำริ
12. จากนั้นนักกิจกรรมเชิงปริยัติทั้งพระทั้งโยมต่างวิพากษ์วิจารณ์มติ มส. อย่างรุนแรงเพราะไม่ได้ดังใจ กระแสความไม่พอใจก็กระจายออกไป เรื่องจบไปแล้วในที่ประชุมก็ถูกโยนออกไปนอกห้องประชุม คล้ายกับจะไม่ยอมให้เรื่องนี้จบลง คือฉันไม่สนกติกาอะไรกันแล้ว
13. (21 พ.ค. 2542) นายมาณพ พลไพรินทร์ กรมการศาสนา และ (25 พ.ค. 2542) นายสมพร เทพสิทธา ประธานสภายุวพุทธิกสมาคม ยื่นหนังสือกล่าวหาพระธัมมชโยและพระทัตตชีโว ต่อพระสุเมธาภรณ์ เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี
แม้ข้อกล่าวหาทั้ง 2 คน ต่อพระ 2 รูป จะต่างกันบ้าง แต่รวม ๆ แล้วที่หนัก ๆ คือกล่าวหาว่าปาราชิกเรื่องลักทรัพย์ และอวดอุตริมนุสธรรม
เรื่องนี้เป็นนิคหกรรม (การลงโทษตามพระธรรมวินัย) ตามกฎ มส. ต้องอาศัยคณะผู้พิจารณาทางสงฆ์ (เทียบเท่ากับศาลชั้นต้น) ประกอบด้วย 3 รูป คือ มีพระพรหมโมลี เจ้าคณะภาค 1 เป็นหัวหน้าคณะ, พระเทพสุธี รองเจ้าคณะภาค 1 และพระสุเมธาภรณ์ เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี
ระหว่างนี้มีการรับหนังสือกล่าวหา มีการเรียกพระธัมมชโย พระทัตตชีโวมารับทราบ แต่วัดพระธรรมกายมีหนังสือให้ทบทวนคุณสมบัติผู้กล่าวหาทั้งสองว่าถูกต้องตามกฎนิคหกรรมหรือไม่ เรื่องจึงขึ้นไปถึงคณะผู้พิจารณาทางสงฆ์ (ศาลชั้นต้น) ต้องพิจารณาตัดสินกัน
14 (11 มิ.ย. 2542) นายเชลียง เทียมสนิท จากกรมการศาสนา แจ้งความดำเนินคดีอาญา (คดีทางโลก) แก่พระธัมมชโยในคดีหลักคือ เบียดบัง ยักยอกทรัพย์
แปลกที่คนฟ้องไม่ใช่ผู้เสียหาย แถมเป็นเจ้าหน้าที่รัฐจากกรมการศาสนา ที่ปกติมีหน้าที่สนับสนุนพระ แต่ครั้งนี้กลับแว้งมาลุยพระเสียเอง
15. (13 ส.ค. 2542) คณะผู้พิจารณาชั้นต้นมีวินิจฉัยไม่รับคำกล่าวหานั้น ให้เป็นอันถึงที่สุด เพราะผู้กล่าวหาไม่ได้เป็นผู้เสียหายโดยตรง ไม่เข้าเกณฑ์จะกล่าวหาได้ อธิกรณ์นี้จึงจบลง ไม่สามารถรื้อฟื้นได้ตามพระธรรมวินัย แต่ผู้กล่าวหาทั้งสองไม่ยินยอม ซึ่งก็ไม่มีผลอะไร คำวินิจฉัยยังถูกต้องใช้ได้อยู่ดี
16. หลังจากนี้ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยก็ออกมาแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น พระมหาบุญถึง ชุตินฺธโร, พระมหาจรรยา สุทฺธิญาโณ, นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง (รู้เรื่องธรรมวินัยกับเขาด้วยรึ)
17. (4 ต.ค. 2542) อัยการพิเศษฟ้องคดีอาญา ครั้งที่ 1
18. (ตั้งแต่ ต.ค. 2542 เป็นต้นมา) ตอนนี้ภาครัฐ การเมืองก็ลงมาเล่นกันเต็มตัว เช่น นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รมต.กระทรวงศึกษา, นายไพบูลย์ เสียงก้อง รองปลัดกระทรวงศึกษาฯ รักษาการอธิบดีกรมการศาสนา ส่งหนังสือกดดันให้เจ้าคณะตำบลคลองหนึ่ง (พระครูปทุมกิจโกศล) เจ้าคณะปกครองวัดพระธรรมกาย สั่งให้พระธัมมชโยพ้นจากตำแหน่งเจ้าอาวาส เพราะถูกฟ้องดำเนินคดีอาญาในศาลทางโลก
เมื่อเจ้าคณะไม่ทำตาม เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงศึกษาก็ออกมาเต้นกันใหญ่ เช่น นายวิชัย ตันศิริ และคนอื่น ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น ร้อนไปถึงเจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะจังหวัดต้องเต้นตาม และนำไปสู่การปลดเจ้าคณะตำบลออกจากตำแหน่ง (12 พ.ย. 2542) จากนั้นอีก 2 วันต่อมาจึงแต่งตั้งองค์ใหม่มาเป็นแทน กรมการศาสนาก็เดินหน้าเพื่อหาทางปลดพระธัมมชโยให้ได้
19. (19 ต.ค. 2542) มส.ประชุม กรมการศาสนาเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย 4 คน คือ นายมีชัย ฤชุพันธ์, นายจรวย หนูคง, นายไพบูลย์ เสียงก้อง, นายประนัย วณิชชานนท์ (ชื่อคุ้น ๆ ทั้งนั้น ตอนนี้โยมเริ่มเข้ามายุ่งกับคณะสงฆ์กันแล้วครับ 555) มาให้ความเห็นว่าคฤหัสถ์เป็นผู้กล่าวหาได้หรือไม่ ซึ่งสรุปว่า "กล่าวหาได้" จึงให้เริ่มกระบวนการนิคหกรรมนี้ใหม่อีกครั้ง
จากนั้นจึงมีการเรียกพระธัมมชโยมารับทราบข้อกล่าวหา แต่ทางวัดไม่มา โดยยืนยันว่าอธิกรณ์ที่พิจารณาโดยศาลสงฆ์ชั้นต้นจบแล้ว รื้อฟื้นอีกไม่ได้
19. (8 ธ.ค. 2542) เจ้าคณะตำบลคนใหม่ สั่งให้พระธัมมชโยพ้นจากการเป็นเจ้าอาวาสในที่สุด
20. (16 ธ.ค. 2542) อัยการพิเศษฟ้องคดีอาญา ครั้งที่ 2
21. (18 ม.ค. 2543) สมเด็จพระมหาธีราจารย์ เจ้าคณะใหญ่หนกลาง ทำหนังสือเห็นแย้งกับการตัดสินของศาลสงฆ์ชั้นต้น พูดให้ง่ายคือใช้อำนาจของฝ่ายบริหารมาหักล้างอำนาจตุลาการนั่นเอง
(อำนาจมหาเถรสมาคมต่างกับอำนาจทางบ้านเมือง คือ มส.รวบอำนาจทุกอย่างมารวมศูนย์ คือ เป็นทั้ง นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ในเวลาเดียวกัน แต่พอจะดำเนินการด้านไหน ก็มีผู้นำไปปฏิบัติอีกที
14 (11 มิ.ย. 2542) นายเชลียง เทียมสนิท จากกรมการศาสนา แจ้งความดำเนินคดีอาญา (คดีทางโลก) แก่พระธัมมชโยในคดีหลักคือ เบียดบัง ยักยอกทรัพย์
แปลกที่คนฟ้องไม่ใช่ผู้เสียหาย แถมเป็นเจ้าหน้าที่รัฐจากกรมการศาสนา ที่ปกติมีหน้าที่สนับสนุนพระ แต่ครั้งนี้กลับแว้งมาลุยพระเสียเอง
15. (13 ส.ค. 2542) คณะผู้พิจารณาชั้นต้นมีวินิจฉัยไม่รับคำกล่าวหานั้น ให้เป็นอันถึงที่สุด เพราะผู้กล่าวหาไม่ได้เป็นผู้เสียหายโดยตรง ไม่เข้าเกณฑ์จะกล่าวหาได้ อธิกรณ์นี้จึงจบลง ไม่สามารถรื้อฟื้นได้ตามพระธรรมวินัย แต่ผู้กล่าวหาทั้งสองไม่ยินยอม ซึ่งก็ไม่มีผลอะไร คำวินิจฉัยยังถูกต้องใช้ได้อยู่ดี
16. หลังจากนี้ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยก็ออกมาแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น พระมหาบุญถึง ชุตินฺธโร, พระมหาจรรยา สุทฺธิญาโณ, นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง (รู้เรื่องธรรมวินัยกับเขาด้วยรึ)
17. (4 ต.ค. 2542) อัยการพิเศษฟ้องคดีอาญา ครั้งที่ 1
18. (ตั้งแต่ ต.ค. 2542 เป็นต้นมา) ตอนนี้ภาครัฐ การเมืองก็ลงมาเล่นกันเต็มตัว เช่น นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รมต.กระทรวงศึกษา, นายไพบูลย์ เสียงก้อง รองปลัดกระทรวงศึกษาฯ รักษาการอธิบดีกรมการศาสนา ส่งหนังสือกดดันให้เจ้าคณะตำบลคลองหนึ่ง (พระครูปทุมกิจโกศล) เจ้าคณะปกครองวัดพระธรรมกาย สั่งให้พระธัมมชโยพ้นจากตำแหน่งเจ้าอาวาส เพราะถูกฟ้องดำเนินคดีอาญาในศาลทางโลก
เมื่อเจ้าคณะไม่ทำตาม เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงศึกษาก็ออกมาเต้นกันใหญ่ เช่น นายวิชัย ตันศิริ และคนอื่น ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น ร้อนไปถึงเจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะจังหวัดต้องเต้นตาม และนำไปสู่การปลดเจ้าคณะตำบลออกจากตำแหน่ง (12 พ.ย. 2542) จากนั้นอีก 2 วันต่อมาจึงแต่งตั้งองค์ใหม่มาเป็นแทน กรมการศาสนาก็เดินหน้าเพื่อหาทางปลดพระธัมมชโยให้ได้
19. (19 ต.ค. 2542) มส.ประชุม กรมการศาสนาเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย 4 คน คือ นายมีชัย ฤชุพันธ์, นายจรวย หนูคง, นายไพบูลย์ เสียงก้อง, นายประนัย วณิชชานนท์ (ชื่อคุ้น ๆ ทั้งนั้น ตอนนี้โยมเริ่มเข้ามายุ่งกับคณะสงฆ์กันแล้วครับ 555) มาให้ความเห็นว่าคฤหัสถ์เป็นผู้กล่าวหาได้หรือไม่ ซึ่งสรุปว่า "กล่าวหาได้" จึงให้เริ่มกระบวนการนิคหกรรมนี้ใหม่อีกครั้ง
จากนั้นจึงมีการเรียกพระธัมมชโยมารับทราบข้อกล่าวหา แต่ทางวัดไม่มา โดยยืนยันว่าอธิกรณ์ที่พิจารณาโดยศาลสงฆ์ชั้นต้นจบแล้ว รื้อฟื้นอีกไม่ได้
19. (8 ธ.ค. 2542) เจ้าคณะตำบลคนใหม่ สั่งให้พระธัมมชโยพ้นจากการเป็นเจ้าอาวาสในที่สุด
20. (16 ธ.ค. 2542) อัยการพิเศษฟ้องคดีอาญา ครั้งที่ 2
21. (18 ม.ค. 2543) สมเด็จพระมหาธีราจารย์ เจ้าคณะใหญ่หนกลาง ทำหนังสือเห็นแย้งกับการตัดสินของศาลสงฆ์ชั้นต้น พูดให้ง่ายคือใช้อำนาจของฝ่ายบริหารมาหักล้างอำนาจตุลาการนั่นเอง
(อำนาจมหาเถรสมาคมต่างกับอำนาจทางบ้านเมือง คือ มส.รวบอำนาจทุกอย่างมารวมศูนย์ คือ เป็นทั้ง นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ในเวลาเดียวกัน แต่พอจะดำเนินการด้านไหน ก็มีผู้นำไปปฏิบัติอีกที
ตัวอย่างเช่น พระพรหมโมลี เป็นกรรมการ มส. เวลาประชุม มส. เพื่อกำหนดนโยบาย ก็มีส่วนร่วม (บริหาร) เวลาประชุมเพื่อออกกฎ เช่น กฎ มส. หรือระเบียบข้อบังคับ ก็มีส่วนร่วมอีก (นิติบัญญัติ) และเพราะท่านเป็นเจ้าคณะภาค จึงต้องเกี่ยวข้องกับการตัดสินอธิกรณ์ (ตุลาการ) ไม่เหมือนกับบ้านเมืองที่ 3 อำนาจนี้แยกขาดจากกัน ถ่วงดุลกันและกันไว้
กรณีนี้ หนังสือแย้งคำตัดสิน จึงเป็นอำนาจบริหาร ปกติแล้วไม่ควรเข้ามาก้าวก่ายอำนาจตุลาการที่ตัดสินเรียบร้อยแล้ว ถ้าจะใช้ ก็ต้องเป็นบรรทัดฐานในการตัดสินของศาลคราวต่อไป ไม่ใช่จะรื้อฟื้นอธิกรณ์ที่เสร็จแล้วกลับขึ้นมาอีก)
22. (19 ม.ค. 2543) ที่ประชุม มส. มีมติเอาตามที่เจ้าคณะหนเสนอ แต่พระพรหมโมลีขอให้บันทึกท้ายมติว่า "ตนไม่เห็นด้วยกับมติดังกล่าว"
เมื่อท่านไม่โอเคเพราะผิดกฎนิคหกรรม จึงมีแรงผลักดันถาโถมเข้าหาท่านมากมาย เพราะถ้าท่านไม่ทำ นิคหกรรมก็เดินหน้าอย่างที่กรมการศาสนาอยากให้เป็นไม่ได้ จนสุดท้ายก็มาถึงจุดสำคัญ คือ ต้องหาทางปลดพระพรหมโมลีออกจากตำแหน่ง
23. (10 ก.พ. 2543) ระหว่างประชุม มีการนิมนต์พระพรหมโมลีออกจากห้อง จากนั้นเจ้าคณะหนเสนอให้ปลดพระพรหมโมลี แม้จะมีกรรมการท่านอื่น ๆ ขอให้หาทางออกอื่นที่เหมาะสมกว่า แต่สุดท้ายก็ต้องให้อำนาจเจ้าคณะหนเป็นผู้พิจารณา ซึ่งแน่นอนว่าพระพรหมโมลีถูกปลดจากตำแหน่ง
24. (10 มี.ค. 2553) ตั้งพระเทพสุธี รองเจ้าคณะภาค 1 เป็นรักษาการเจ้าคณะภาค 1 แทนพระพรหมโมลี จากนั้นมีการตั้งคณะผู้พิจารณาชั้นต้นขึ้นมาใหม่ เช่น ทาบทามเจ้าคณะจังหวัดนนทบุรีมาเข้าร่วม แต่ท่านปฏิเสธ ส่วนองค์อื่นก็มีแนวโน้มปฏิเสธเช่นกัน สุดท้าย (27 เม.ย. 2553) พระเทพสุธีขอลาออกจากรักษาการเจ้าคณะภาค
25. (28 เม.ย. 2543) ตั้งพระธรรมโมลี เจ้าคณะภาค 15 มารักษาการแทน
26. (13 มิ.ย. 2543) มีหนังสือเรียกพระธัมมชโยมารับการไต่สวนมูลฟ้องในวันที่ 23 และ 26 มิ.ย.
27. (23 มิ.ย. 2543) พระธัมมชโยมีหนังสือขอให้ระงับการไต่สวน และหยุดการดำเนินกระบวนนิคหกรรม เพราะตามกฎ มส. บอกว่า ถ้าเรื่องที่นำมาฟ้อง มีการฟ้องร้องกันในศาลทางโลกอยู่ ให้รอการพิจารณานั้นไปก่อน
จากนั้นเรื่องก็ดำเนินไปอีกนิดหน่อย ศาลทางธรรมระงับไป ศาลทางโลกก็เดินหน้าไป
28. (21 ส.ค. 2549) อัยการพิเศษยื่นคำร้องขอถอนฟ้องพระธัมมชโยต่อศาล (22 ส.ค. 2549) ศาลพิจารณาแล้วอนุญาตให้ถอนฟ้องได้ แล้วจำหน่ายคดีออกจากสารบบความของศาลอาญา เป็นอันว่าคดีทางโลกของธรรมกายสิ้นสุดลง
29. (ปัจจุบัน 2560) พระพรหมเมธี กรรมการและโฆษก มส. ยกมติ มส. ปี 2549 มายืนยันว่า พระธัมมชโยไม่ผิดตามข้อกล่าวหา ทำให้คดีทางธรรมจบลงตามไปด้วย (ตั้งนานแล้ว)
30. (มี.ค. 2560) ปู่พุทธะอิสระ ออกมาโวยวายในคลิปข้างต้น เพื่อจะรื้อฟื้นอธิกรณ์ และปรับอาบัติปาราชิกพระธัมมชโยใหม่ โดยยังอาศัยพระลิขิตเป็นตัวชูโรง
จบโดยคร่าว ๆ แล้วครับ ผมรู้ว่าคุณอ่านจนเหนื่อย ผมเองยังอยากเขียนต่อนะ แต่ก็ติดที่เหนื่อยเหมือนคุณนี่ละ
ขออนุญาตพักสมองให้โล่งก่อนนะครับ พรุ่งนี้ค่อยมาลงรายละเอียดกันอีกที
ยังไงปู่ก็ไม่หนีไปไหนหรอก
คมความคิด
30 มีนาคม 2560
กรณีนี้ หนังสือแย้งคำตัดสิน จึงเป็นอำนาจบริหาร ปกติแล้วไม่ควรเข้ามาก้าวก่ายอำนาจตุลาการที่ตัดสินเรียบร้อยแล้ว ถ้าจะใช้ ก็ต้องเป็นบรรทัดฐานในการตัดสินของศาลคราวต่อไป ไม่ใช่จะรื้อฟื้นอธิกรณ์ที่เสร็จแล้วกลับขึ้นมาอีก)
22. (19 ม.ค. 2543) ที่ประชุม มส. มีมติเอาตามที่เจ้าคณะหนเสนอ แต่พระพรหมโมลีขอให้บันทึกท้ายมติว่า "ตนไม่เห็นด้วยกับมติดังกล่าว"
เมื่อท่านไม่โอเคเพราะผิดกฎนิคหกรรม จึงมีแรงผลักดันถาโถมเข้าหาท่านมากมาย เพราะถ้าท่านไม่ทำ นิคหกรรมก็เดินหน้าอย่างที่กรมการศาสนาอยากให้เป็นไม่ได้ จนสุดท้ายก็มาถึงจุดสำคัญ คือ ต้องหาทางปลดพระพรหมโมลีออกจากตำแหน่ง
23. (10 ก.พ. 2543) ระหว่างประชุม มีการนิมนต์พระพรหมโมลีออกจากห้อง จากนั้นเจ้าคณะหนเสนอให้ปลดพระพรหมโมลี แม้จะมีกรรมการท่านอื่น ๆ ขอให้หาทางออกอื่นที่เหมาะสมกว่า แต่สุดท้ายก็ต้องให้อำนาจเจ้าคณะหนเป็นผู้พิจารณา ซึ่งแน่นอนว่าพระพรหมโมลีถูกปลดจากตำแหน่ง
24. (10 มี.ค. 2553) ตั้งพระเทพสุธี รองเจ้าคณะภาค 1 เป็นรักษาการเจ้าคณะภาค 1 แทนพระพรหมโมลี จากนั้นมีการตั้งคณะผู้พิจารณาชั้นต้นขึ้นมาใหม่ เช่น ทาบทามเจ้าคณะจังหวัดนนทบุรีมาเข้าร่วม แต่ท่านปฏิเสธ ส่วนองค์อื่นก็มีแนวโน้มปฏิเสธเช่นกัน สุดท้าย (27 เม.ย. 2553) พระเทพสุธีขอลาออกจากรักษาการเจ้าคณะภาค
25. (28 เม.ย. 2543) ตั้งพระธรรมโมลี เจ้าคณะภาค 15 มารักษาการแทน
26. (13 มิ.ย. 2543) มีหนังสือเรียกพระธัมมชโยมารับการไต่สวนมูลฟ้องในวันที่ 23 และ 26 มิ.ย.
27. (23 มิ.ย. 2543) พระธัมมชโยมีหนังสือขอให้ระงับการไต่สวน และหยุดการดำเนินกระบวนนิคหกรรม เพราะตามกฎ มส. บอกว่า ถ้าเรื่องที่นำมาฟ้อง มีการฟ้องร้องกันในศาลทางโลกอยู่ ให้รอการพิจารณานั้นไปก่อน
จากนั้นเรื่องก็ดำเนินไปอีกนิดหน่อย ศาลทางธรรมระงับไป ศาลทางโลกก็เดินหน้าไป
28. (21 ส.ค. 2549) อัยการพิเศษยื่นคำร้องขอถอนฟ้องพระธัมมชโยต่อศาล (22 ส.ค. 2549) ศาลพิจารณาแล้วอนุญาตให้ถอนฟ้องได้ แล้วจำหน่ายคดีออกจากสารบบความของศาลอาญา เป็นอันว่าคดีทางโลกของธรรมกายสิ้นสุดลง
29. (ปัจจุบัน 2560) พระพรหมเมธี กรรมการและโฆษก มส. ยกมติ มส. ปี 2549 มายืนยันว่า พระธัมมชโยไม่ผิดตามข้อกล่าวหา ทำให้คดีทางธรรมจบลงตามไปด้วย (ตั้งนานแล้ว)
30. (มี.ค. 2560) ปู่พุทธะอิสระ ออกมาโวยวายในคลิปข้างต้น เพื่อจะรื้อฟื้นอธิกรณ์ และปรับอาบัติปาราชิกพระธัมมชโยใหม่ โดยยังอาศัยพระลิขิตเป็นตัวชูโรง
จบโดยคร่าว ๆ แล้วครับ ผมรู้ว่าคุณอ่านจนเหนื่อย ผมเองยังอยากเขียนต่อนะ แต่ก็ติดที่เหนื่อยเหมือนคุณนี่ละ
ขออนุญาตพักสมองให้โล่งก่อนนะครับ พรุ่งนี้ค่อยมาลงรายละเอียดกันอีกที
ยังไงปู่ก็ไม่หนีไปไหนหรอก
คมความคิด
30 มีนาคม 2560
ผ่าหลวงปู่พุทธะอิสระ
ผ่าหลวงปู่พุทธะอิสระ (ตอนที่ 2 คดีธรรมกาย)
Reviewed by bombom55
on
03:39
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: