สุดอลังการ ราชประเพณีกฐิน


สุดอลังการ ราชประเพณีกฐิน 

หลังออกพรรษา เข้าสู่ช่วงเทศกาลทอดกฐิน ซึ่งเป็นเทศกาล และประเพณีสำคัญของพุทธศาสนิกชน จัดเป็นงานกุศลยิ่งใหญ่ไม่ว่าจะเป็นพิธีของหลวงหรือพิธีของราษฎร คือ เป็นประเพณีสำคัญมาแต่โบราณตั้งแต่ไทยได้รับพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ไม่มีการกุศลใดๆ ที่พุทธศาสนิกชนร่วมกันด้วยจิตศรัทธา และมีความสามัคคีในการทำบุญเสมอการทอดกฐิน ดังปรากฏในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง กรุงสุโขทัยว่า
“คนในเมืองสุโขทัยนี้ มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองสุโขทัยนี้ ทั้งชาวแม่ ชาวเจ้าท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุน ทั้งสิ้นทั้งหลาย ทั้งผู้ชาย ผู้หญิง ฝูงท่วย มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน เมื่อออกพรรษากรานกฐินเดือนหนึ่งจึงแล้ว เมื่อกรานกฐิน มีพนมเบี้ย มีพนมหมาก มีพนมดอกไม้ มีหมอนนั่งหมอนนอนบริพารกฐิน โอยทานแล่ปีแล้ญิบล้าน ไปสวดญัตติกฐินถึงอรัญญิกพู้น เมื่อจักเข้ามาเวียงเรียงกันแต่อรัญญิกพู้นเท้าหัวลาน คำบงคำกลอย ด้วยเสียงพาทย์ เสียงพิณ เสียงเลื่อน เสียงขับ….”
ประเพณีกฐินจึงสืบเป็นราชประเพณี และเทศกาลบำเพ็ญกุศลทอดกฐิน เริ่มแต่วันออกพรรษา แรม ๑ คํ่า เดือน ๑๑ ไปจนถึงวันแรม ๑ คํ่า เดือน ๑๒ เป็นสุดกฐินกาล

ส่วนราชประเพณีของหลวงนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเริ่มเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินตามพระอารามหลวงในวันแรม ๖ คํ่า เดือน ๑๑ ไปจนถึงวันแรม ๙ คํ่า เดือน ๑๑ เสด็จพระราชดำเนินทั้งทางบก ทางเรือ วันละ ๒ วัดบ้าง ๓ วัดบ้าง 

ในสมัยก่อนๆ เป็นงานใหญ่เสด็จฯ โดยกระบวนพยุหยาตราสถลมารค คือ ทรงพระราชยาน มีกระบวนแห่ราชอิสริยยศ เครื่องสูง สังข์ แตร กลองชนะ คู่เคียง อินทร์พรหมถือหอก ถือทวน ถือดาบ เชิญพระแสงต่างๆ เป็นกระบวนราชอิสริยยศ แต่งกายอย่างทหารไทยโบราณ สมัยต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งกองทหารแบบยุโรปขึ้นแล้ว จึงจัดให้มีกองทหารแบบใหม่เป็นกระบวนหน้า และกระบวนหลังตาม เช่น มีแตรวงธงประจำกองนำ ทหารม้า ทหารราบทุกเหล่า ทหารปืนใหญ่ ทั้งหมดแต่งเครื่องแบบเต็มยศแห่นำและตามเสด็จฯ 

กระบวนพยุหยาตราสถลมารค ในสมัยรัชกาลที่ 7 
กระบวนพยุหยาตราสถลมารค ในสมัยรัชกาลที่ 9
และบางปีเสด็จฯ ถวายผ้าพระกฐินทางเรือเป็น กระบวนพยุหยาตราชลมารค ผ้าไตรองค์กฐินตั้งในบุษบกเรือพระที่นั่งอนันตนาคราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับในเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ กระบวนเรือพระอิสริยยศมีเรือคู่ชักเป็นรูปสัตว์ที่หัวเรือ เช่นรูปพญาพานรบ้าง รูปอสูรบ้าง มีสังข์ แตร มโหระทึก ปี่ กลองชนะ ประโคม มีศิลปินเห่เรือ และมีกระบวนเรือตั้งเรือแซง เป็นต้น แต่งกายด้วยเครื่องทหารแบบโบราณ สวมหมวกหูกระต่าย หมวกทรงประพาส เมื่อเคลื่อนกระบวนเรือพยุหยาตรา ศิลปินประจำเรือผ้าไตรจะเห่ตามบทประพันธ์กาพย์เห่เรือ ฝีพายร้องรับเป็นตอนๆ

ขบวนเรือพระราชพิธี ในการพระราชพิธีลงสรงสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

การจัดกระบวนพยุหยาตราชลมารค
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9
ได้มีมาแล้วจำนวน 17 ครั้ง
ต่อมาเมื่อบ้านเมืองเจริญมากขึ้นจึงเปลี่ยนเป็นเสด็จพระราชดำเนินโดยรถม้าพระที่นั่ง รถยนต์พระที่นั่ง เรือยนต์พระที่นั่ง ไปถวายผ้าพระกฐิน และบางปีก็โปรดเกล้าฯ ให้กำหนดเป็นเสด็จพระราชดำเนินกระบวนพยุหยาตราสถลมารค บางปีก็กำหนดเสด็จฯ กระบวนพยุหยาตราชลมารคตามโบราณราชประเพณี 

เช่น กระบวนพยุหยาตราชลมารค (ใหญ่) การเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 85 พรรษา (7 รอบ) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ (โดยเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์) พร้อมด้วยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ กระบวนเรือยาว 1,280 เมตร กว้าง 90 เมตร ประกอบด้วยเรือทั้งหมด 52 ลำ ได้แก่ เรือพระที่นั่ง 4 ลำ (เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ และเรือพระที่นั่งอนันตนาคราช (อัญเชิญผ้าพระกฐิน)) เรือรูปสัตว์ 8 ลำ เรือดั้ง 22 ลำ และเรืออื่น ๆ 18 ลำ กาพย์เห่เรือในครั้งนี้เป็นการประพันธ์ขึ้นมาใหม่ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทั้งสิ้น 3 บท ได้แก่ บทสรรเสริญพระบารมี บทชมเรือขบวน และบทชมเมือง โดย น.อ.ทองย้อย แสงสินชัย เป็นผู้ประพันธ์ และน.ท.ณัฐวัฏ อร่ามเกลื้อ เป็นพนักงานเห่เรือ


โดยที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นองค์อัครศาสนูปถัมภ์ เฉพาะอย่างยิ่งพระพุทธศาสนามีวัดที่ทางราชการยกขึ้นเป็นพระอารามหลวง ทั้งในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด ๑๙๐ วัด ในฐานะที่เป็นวัดหลวงตามราชประเพณีพระมหากษัตริย์ ย่อมจะเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินวัดหลวงทุกวัด แต่จำนวนวัดหลวงมีมากมายหลายจังหวัดทั่วราชอาณาจักร บางโอกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็เสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินด้วยพระองค์เอง และบางครั้งก็ไม่สามารถที่จะเสด็จฯ ไปถวายผ้าพระกฐินให้ครบทุกวัดที่เป็นพระอารามหลวงตามกำหนดเทศกาลทอดกฐินได้

เมื่อถึงกำหนดเทศกาลทอดกฐิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินพระอารามหลวงในเขตที่ใกล้พระนครเป็นส่วนมาก เริ่มพระกฐินหลวงแต่วันแรม ๖ คํ่า เดือน ๑๑ เป็นวันแรก กำหนดเสด็จฯ ถวายผ้าพระกฐิน ๓ วัด หรือ ๒ วัด รุ่งขึ้นแรม ๗ คํ่าพักวันหนึ่ง วันที่พักนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะไม่เสด็จฯ ไปถวายผ้าพระกฐินด้วยพระองค์เอง เพื่อให้เจ้าพนักงานเตรียมการที่จะเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินเป็น กระบวนพยุหยาตราสถลมารค ส่วนกระบวนพยุหยาตราชลมารคจะต้องกำหนดในวันแรม ๙ คํ่า ก็เพราะวันนี้ทางจันทรคติปรากฏว่านํ้าในแม่นํ้าเจ้าพระยาตอนพระนครจะขึ้นมาก และนิ่งไม่ไหลขึ้นลง สะดวกในการที่จะจัดเป็นกระบวนพยุหยาตราทรงเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งเอนกชาติภุชงค์ สับเปลี่ยนกันไปแต่ละปี

อนึ่งพระกฐินหลวงที่โปรดเกล้าฯ ให้แทนพระองค์ ตลอดจนพระกฐินพระราชทาน รวมทั้งที่แจ้งความจำนงไปยังกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ มีคำว่าถวายผ้าพระกฐินเป็นภาษาไทย ดังนี้

ผ้าพระกฐินทานกับทั้งผ้าอานิสงส์บริวารทั้งปวงนี้ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา¬ภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทรสยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ กอปรด้วยพระราชศรัทธา โปรดเกล้าฯ ให้ข้าพเจ้าน้อมนำถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ซึ่งจำพรรษากาลถ้วนไตรมาสในอาวาสวิหารนี้ ขอพระสงฆ์จงรับผ้าพระกฐินทานนี้ กระทำกฐินัตถารกิจ ตามพระบรมพุทธานุญาตนั้น เทอญ
กำหนดกฐินกาล ปี 2559 นี้ เริ่มตั้งแต่วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม 2559 ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2559 ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เป็นวันสุดท้าย (ซึ่งเป็นวันลอยกระทงด้วย) ดังนั้นจึงขอเชิญชวนชาวพุทธทุกคน ขวนขวายสร้างบุญใหญ่ ด้วยการทอดกฐิน ณ วัดใกล้บ้าน หรือในประเทศที่ตนอยู่กันทุกคน

ที่มา http://www.silpathai.net
        วิกิพีเดีย กระบวนพยุหยาตราชลมารค


สุดอลังการ ราชประเพณีกฐิน สุดอลังการ ราชประเพณีกฐิน Reviewed by bombom55 on 23:10 Rating: 5

27 ความคิดเห็น:

  1. น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ทรงเป็นเอกอัครศาสนููปถัมภก และทรงเป็นพระมหากษัตริย์ "พุทธมามกะ " กราบแทบฝ่าพระบาทส่งเสด็จ สู่สวรรคาลัย ข้าพระพุทธเจ้า นางกัญรส เสือสี และครอบครัว

    ตอบลบ
  2. เสด็จสู่ฟากฟ้าสุราลัย
    พระมหากรุณาธิคุณจารึกในใจไทยชั่วกาล

    ตอบลบ
  3. น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ทรงเป็นเอกอัครศาสนููปถัมภก และทรงเป็นพระมหากษัตริย์ "พุทธมามกะ " กราบแทบฝ่าพระบาทส่งเสด็จ สู่สวรรคาลัย

    ตอบลบ
  4. น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ทรงเป็นเอกอัครศาสนููปถัมภก และทรงเป็นพระมหากษัตริย์ "พุทธมามกะ " กราบแทบฝ่าพระบาทส่งเสด็จ สู่สวรรคาลัย

    ตอบลบ
  5. ขอบคุณในข้อมูล สุดอลังการ ราชประเพณีกฐินของไทยที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่ง

    ตอบลบ
  6. ขอบคุณในข้อมูล สุดอลังการ ราชประเพณีกฐินของไทยที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่ง

    ตอบลบ
  7. สถิตอยู่ในใจตราบนิรันดร์
    น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้
    เสด็จสู่ฟากฟ้าสุราลัย

    พระมหากรุณาธิคุณจารึกในใจไทยชั่วกาล

    ตอบลบ
  8. พระองค์กลับทิพย์วิมานบนสวรรค์เหลือไว้แต่ความดีให้ประชาชนระลึกถึงพระองค์ท่านตลอดไป

    ตอบลบ
  9. พระองค์ทรงเป็นอัครศาสนูปภัมภก
    ยอยกพระพุทธศาสนา

    ตอบลบ
  10. กราบแทบฝ่าพระบาทพระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมในฐานะเอกองค์อัครศาสนูปถัมภก ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
    ข้าพระพุทธเจ้าในนามครอบครัวสรวารี

    ตอบลบ
  11. กราบแทบฝ่าพระบาทพระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมในฐานะเอกองค์อัครศาสนูปถัมภก ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
    ข้าพระพุทธเจ้าในนามครอบครัวสรวารี

    ตอบลบ
  12. น้อมเกล้าฯถวายอาลัย
    ส่งดวงพระวิญญาณพระองค์
    เสด็จฯสู่สวรรคาลัย

    ตอบลบ
  13. ชาติของเราชาติไทยใครก็รู้
    ชาติเคยสู้ผ่านศึกเหตุชั่วร้าย
    ชาตินักรบต่อสู้จนชีพวาย
    ชาติอยู่ได้แม้ตายก็ยอมพลี
    ชาติไทยเราถึงคราวน่าใจหาย
    ชาติไทยได้สูญสิ้นกษัตริย์ศรี
    ชาติไทยเสียสิ้นแล้วองค์จักรี
    ชาติไทยนี้เกิดทุกข์ทั่วถิ่นไทย
    ชาติเคยอยู่ร่วมกันฉันน้องพี่
    ชาติสุขศรีประชาคงสดใส
    ชาติจะอยู่คู่โลกไปอีกไกล
    ชาติวิไลผองไทยคงเบิกบาน
    ชาติวันนี้ผองเราต้องร่วมช่วย
    ชาติไม่ม้วยร่วมด้วยช่วยกันสาน
    ชาติจะสุขร่มเย็นตลอดกาล
    ชาติคือบ้านวิมานสำราญใจ...

    ตอบลบ
  14. พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ล้วนยอยกพระพุทธศาสนา

    ตอบลบ
  15. นัอมเกลัาฯสำนึกในมหากรุณาธิคุณเป็นลันพันอันหาที่สุดมิไดัจารึกในดวงใจไทยตราบนิรันดรั

    ตอบลบ
  16. ไม่ระบุชื่อ21 ตุลาคม 2559 เวลา 07:50

    พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย
    น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้

    ตอบลบ
  17. นัอมเกลัาฯสำนึกในมหากรุณาธิคุณเป็นลันพันอันหาที่สุดมิไดัจารึกในดวงใจไทยตราบนิรันดรั

    ตอบลบ
  18. พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัยน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ

    ตอบลบ
  19. พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัยน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ

    ตอบลบ
  20. ขอบคุข้อมูลดีๆ ที่ทำให้ระลึกถึงว่าทุกราชวงศ์ ได้ทำนุบำรุง สนับสนุน และครองตนอยู่ในพุทธศาสนาอย่างดีเยี่ยม สาธุ

    ตอบลบ
  21. สถิตอยู่ในใจตราบนิรันดร์
    น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้

    ตอบลบ
  22. สถิตอยู่ในใจตราบนิรันดร์
    น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้

    ตอบลบ
  23. พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย
    น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้

    ตอบลบ
  24. เสด็จสู่สวรรคาลัยผองพสกนิกรชาวไทย
    น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณตราบนิจนิรันดร์

    ตอบลบ
  25. ขอบคุณนำเรื่องราว ภาพบุญ พระราชกิจอันเป็นกุศล เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณล้นฟ้า ขอพระองค์เสด็จสู่สรรคาลัย สถิตในใจตราบนิรันดร์

    ตอบลบ
  26. สถิตอยู่ในใจตราบนิรันดร์
    น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้

    ตอบลบ
  27. สถิตอยู่ในใจตราบนิรันดร์
    น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้
    ข้าพระพุทธเจ้า..นางสาวฐิติรัตน์ ครุฑแก้ว

    ตอบลบ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.