ในหลวงกับพระพุทธศาสนา

ในหลวงกับพระพุทธศาสนา

พระมหากษัตริย์ไทยกับพระพุทธศาสนา



ในเรื่องของการยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาของชนชาติไทย ซึ่งมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขนั้นมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ปรากฏอยู่หลายทาง ไม่ว่าจะจากการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระเจ้าอโศก-มหาราชเข้ามาทางอาณาจักรสุวรรณภูมิ (ปัจจุบันคือนครปฐม) เมื่อปี พ.ศ.๒๓๔ หรือจากศิลาจารึกเก่าแก่ชื่อว่า “จารึกอาณาจักรน่านเจ้า” ที่เชื่อกันว่ากระทำโดยนักปราชญ์จีน “เชงเหว” เมื่อปี พ.ศ.๑๓๐๙ 


จึงกล่าวได้ว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทยมาตั้งแต่โบราณกาล 

และพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ก็ล้วนทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อการทำนุบำรุงและปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนาสืบต่อมาทั้งสิ้น แม้องค์ปฐมบรมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ก็ได้ทรงแสดงพระราชปณิธานไว้ในนิราศท่าดินแดงว่า


“ตั้งใจจะอุปถัมภก
 ยอยกพระพุทธศาสนา

จะป้องกันขอบขัณฑสีมา
รักษาประชาชนและมนตรี”

ซึ่งก็ได้ทรงปฏิบัติตามพระราชปณิธานนั้นมาโดยตลอด และพระมหากษัตริย์รัชกาลต่อๆ มาก็ได้ทรงทำนุ-บำรุงพระพุทธศาสนาทุกพระองค์อย่างต่อเนื่องจนถึงรัชกาลปัจจุบัน


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงผนวช

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรานั้นทรงสนพระราชหฤทัยในพระพุทธศาสนามาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ทรงเคยได้รับการปลูกฝังความรู้ความเข้าใจจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชนนีมาก่อนแล้ว ต่อมายังได้ทรงศึกษาค้นคว้าด้วยพระองค์เอง และทรงศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง จึงเมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๙๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ได้ทรงแถลงพระราชดำริที่จะบรรพชาอุปสมบทต่อมหาสมาคม อันประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และคณะทูตานุทูตความตอนหนึ่งว่า

“โดยที่พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ดีศาสนาหนึ่ง เนื่องในบรรดาสัจธรรมคำสั่งสอนอันชอบด้วยเหตุผล จึงเคยคิดอยู่ว่าถ้าโอกาสอำนวย ข้าพเจ้าควรจักได้บวชสักเวลาหนึ่งตามราชประเพณี ซึ่งจักเป็นทางสนองพระเดชพระคุณพระราชบุพการีตามคตินิยมด้วย  

และนับตั้งแต่ข้าพเจ้าได้ครองราชย์สืบสันตติวงศ์ต่อจากพระเชษฐาธิราช ก็ล่วงมากว่าสิบปีแล้ว เห็นว่าน่าจะถึงเวลาที่ควรจะทำตามความตั้งใจไว้นั้นแล้วประการหนึ่ง อนึ่ง การที่องค์สมเด็จพระสังฆราชหายประชวรมาได้ในคราวประชวรครั้งหลังนี้ก่อให้เกิดความปิติยินดีแก่ข้าพเจ้ายิ่งนัก ได้มาคำนึงว่าถ้าในการอุปสมบทของข้าพเจ้า ได้มีองค์สมเด็จพระสังฆราชเป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วก็จักเป็นการแสดงออกซึ่งความศรัทธาเคารพในพระองค์ท่านของข้าพเจ้าได้อย่างเหมาะสมอีกประการหนึ่ง จึงได้ตกลงใจที่จะบรรพชาอุปสมบทในวันที่ ๒๒ เดือนนี้”



จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ได้ทรงผนวช ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๙๙ โดยสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า (มรว.ชื่น นพวงศ์) ฉายาสุจิต.โต วัดบวรนิเวศวิหารทรงเป็นพระราชอุปัชฌาย์ 

ระหว่างที่ทรงผนวชพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงบำเพ็ญพระราชจริยาวัตรดุจพระนวกะทั่วไป ทรงศึกษาพระธรรม และปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด นอกจากนั้นยังได้พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ราษฎรได้เฝ้าถวายธูปเทียน-ดอกไม้ทุกวัน แล้วได้ทรงนำธูปเทียน-ดอกไม้นั้นไปถวายสักการะบูชาพระรัตนตรัยในโอกาสเสด็จทำวัตรเป็นประจำทุกเช้าทุกเย็น 

ทั้งยังเสด็จพระราชดำเนินออกทรงรับบาตรจากประชาชนทั่วไปอีกด้วย ในช่วงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดำรงอยู่ในสมณเพศนั้น ได้ทรงตั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่งก็ได้ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจได้เป็นที่เรียบร้อย ดังนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลาผนวชแล้ว จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เฉลิมพระอภิไธยให้เป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๙๙


ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก

เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า แม้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงเป็นผู้ที่ได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาจนรอบรู้หลักธรรมอย่างละเอียด แจ่มแจ้ง และลึกซึ้ง แต่พระองค์ก็มิไดทรงกีดกันศาสนาอื่น ตรงกันข้ามกลับทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อทุกศาสนา ดังพระราชกรณียกิจที่จะขออัญเชิญมาบางส่วนดังนี้

ในทางพระพุทธศาสนา

นอกจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะพอพระราชหฤทัยที่จะฟังธรรม – สนทนาธรรมกับพระภิกษุผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ และปฏิบัติธรรมด้วยพระองค์เองแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจที่เกื้อหนุนพระพุทธศาสนาอีกนานัปการ เช่น

พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์แก่สามเณรที่สอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค เมื่อจะอุปสมบทให้เป็นนาคหลวง

โปรดเกล้าฯ ให้จัดรายการธรรมะสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ ทางสถานีวิทยุอ.ส. เพื่อเผยแพร่ศีลธรรม

โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระพุทธรูป ภ.ป.ร., พระพุทธนวราชบพิตร และพระพุทธรูปพิมพ์หรือพระกำลังแผ่นดินที่เรียกกันว่า “หลวงพ่อจิตรลดา”

โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นประธานกรรมการอำนวยการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามจนเสร็จสมบูรณ์งดงาม ทันงานฉลองสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๒๐๐ ปี (เริ่มดำเนินการ พ.ศ. ๒๕๑๙ ถึง พ.ศ.๒๕๒๕) เสด็จพระราชดำเนินบำเพ็ญพระราชกุศลในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ทั้งยังเสด็จพระราช-ดำเนินร่วมพิธีทางศาสนาตามคำกราบบังคมทูลอัญเชิญเสด็จฯ เนืองๆ

ปี พ.ศ.๒๕๒๘ ทรงมีพระบรมราชโองการให้มีการสังคายนาตรวจชำระพระไตรปิฎก ซึ่งได้ดำเนินการสำเร็จทันวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๐ ในมหามงคลวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบ ได้พิมพ์แล้วเสร็จทั้งฉบับบาลีและฉบับแปลเป็นภาษาไทย  

ประเทศไทยมีการศึกษาพระไตรปิฏกมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย และได้มีการแปลเป็นภาษาไทยบางส่วนสืบต่อมาโดยตลอด แต่การแปลมาแล้วเสร็จครบชุดในสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนี้เอง 

ทั้งต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๓๑ มหาวิทยาลัยมหดิลยังได้นำข้อความในพระไตรปิฎกรวมหลายสิบล้านตัวอักษรเป็นจำนวน ๔๕ เล่ม เข้าจานแม่เหล็กชนิดแข็ง(HARD DISK) เพื่อนำเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้สามารถเรียกคำไหน ในเล่มใด หน้าใดก็ได้มาปรากฎในจอภาพทันที นับเป็นครั้งแรกของโลกที่มีพระไตรปิฎกภาษาบาลีฉบับคอมพิวเตอร์อันเป็นเกียรติประวัติสูงสุดของประเทศไทย ซึ่งก็ได้สำเร็จลงในสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วยเช่นกัน  

ต่อมายังได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้มหาวิทยาลัยมหิดลดำเนินการเพิ่มข้อความภาษาบาลีในหนังสืออธิบายพระไตรปิฎกเรียกว่า “อรรถกถา” และคำอธิบายอรรถกถาที่เรียกว่า “ฎีกา” รวมเป็นหนังสือทั้งสิ้น ๙๘ เล่ม ให้สามารถเรียกข้อความที่ต้องการมาปรากฎในจอภาพ และพิมพ์ข้อความนั้นเป็นเอกสารได้ภายในเวลาไม่กี่วินาที ซึ่งงานนี้สำเร็จก่อนวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๔ 

นับเป็นพระราชกรณียกิจที่ส่งเสริมและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างสำคัญยิ่ง เป็นความสำเร็จที่มีคุณค่าสูงต่อการศึกษาค้นคว้าของวงวิชาการเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาทั่วโลกทีเดียว มิใช่เฉพาะประเทศไทยเท่านั้น



ศาสนาอื่น ๆ ในประเทศไทย


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจอันเกื้อหนุนแต่พระพุทธศาสนาเท่านั้น หากแต่ได้พระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์แก่ทุกศาสนาในประเทศไทยอย่างทั่วถึง ได้เสด็จพระราชดำเนินร่วมงานของทุกศาสนาตามคำกราบบังคมทูลอัญเชิญเสด็จ ทั้งยังได้พระราชทานพระ-ราชทรัพย์ส่วนพระองค์บำรุงศาสนาต่าง ๆ ตามสมควรเมื่อผู้แทนองค์การศาสนาได้เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพร เนื่องในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาทุกปี

มีสิ่งที่ประวัติศาสตร์ควรจารึกเพราะเป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในการที่พระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นพุทธมามกะ แต่ทรงมีพระราชดำริให้แปลคัมภีร์ของศาสนาอื่นดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้นายต่วน สุวรรณศาสน์ อดีตจุฬาราชมนตรี จัดตั้งกรรมการแปลและพิมพ์พระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน ซึ่งเป็นคัมภีร์สูงสุดของศาสนาอิสลามจากภาษาอาหรับเป็นภาษาไทย เพื่อให้ชาวไทยมุสลิมได้ศึกษาเล่าเรียนศาสนาของตนได้โดยสะดวก ซึ่งก็ได้แปลเสร็จในปี พ.ศ.๒๕๑๕ แล้วได้แจกจ่ายไปยังมัสยิด ห้องสมุด และผู้สนใจทั่วประเทศ

พระมหากรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีต่อการศาสนาทุกศาสนาที่กล่าวมานี้เป็นเเพียงส่วนหนึ่งที่ทรงปฏิบัติจริงทั้งหมด เป็นโชคดีของชาวไทยและผู้มาพึ่งพระบรมโพธิสมภารทั้งหลายแล้วที่มีโอกาสอยู่ใต้พระบรมโพธิสมภาร สมควรที่ทุกคนจะได้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและตอบแทนด้วยการเป็นพสกนิกรที่ดีของพระองค์และเป็นพลเมืองดีของชาติตลอดไป

พระร้อยรัดดวงใจไทยทั้งผอง


ยิ่งนับวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการด้วยพระเมตตาโดยทรงมีพระราชประสงค์ให้พสกนิกรได้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พสกนิกรชาวไทยเองไม่ว่าจะเชื้อชาติใดก็มีความรัก ความเทิดทูน และผูกพันต่อพระองค์เพิ่มทวีขึ้นอย่างประมาณมิได้เช่นกัน

เรียบเรียงจาก

- หนังสือพระมหาราชาผู้ปกครองแผ่นดินโดยธรรม : ธรรมสภา
- หนังสือพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชกับการศึกษาไทย :สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ : สำนักนายกรัฐมนตรี
- หนังสือข่าวสำนักข่าวไทย : ๑๒ มิถุนายน ๒๕๓๙
- บทความพิเศษเรื่องพระเจ้าอยู่หัวติดดินของดารี ข่มอาวุธ :นิตยสารกุลสตรี : ๒๕๔๗
- บทความพิเศษเรื่องปลาร้องไห้ ที่บ้านปาตาตีมอ ของพลากร สุวรรณรัฐ : นิตยสารสกุลไทย :๒๕๔๘
ข้อมูลจาก บทความพิเศษประกอบรายการของสถานีวิทยุ อสมท เรื่อง “ในหลวงของเรา” ผลิตโดย งานบริการการผลิต ส่วนสนับสนุนการผลิตวิทยุ ฝ่ายออกอากาศวิทยุกรุงเทพ



ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก

และทรงเป็นพระมหากษัตริย์พุทธมามกะ
King Bhumibol Adulyadej
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
........................................
น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ


และร่วมถวายความอาลัย
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ 
........................................



ในหลวงกับพระพุทธศาสนา ในหลวงกับพระพุทธศาสนา Reviewed by bombom55 on 21:00 Rating: 5

24 ความคิดเห็น:

  1. ข้าพระพุทธเจ้าสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้

    ตอบลบ
  2. พระองค์ยังอยุ่ในใจประชาชนทุกคนตลอดไป

    ตอบลบ
  3. ธ สถิตอยุ่ในใจตราบนิจนิรันดร์น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้

    ตอบลบ
  4. สถิตย์อยู่ในใจไทยทั้งหล้า สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้

    ตอบลบ
  5. ในหลวงท่านบวชในบวรพระพุทธศาสนา และท่านยังทรงเป็นศาสนูปถัมภกในพุทธศาสนาอย่างยิ่งยวดตลอดพระชนมพรรษาของท่าน ขอแสดงความเคารพในพระมหากรุณาธิคุณของท่านด้วย

    ตอบลบ
  6. เอกองค์อัครศาสนูปถัมป์ภก เสด็จสู่สวรรคาลัยผองพสกนิกรชาวไทย
    น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณตราบนิจนิรันดร์

    ตอบลบ
  7. ข้าพระพุทธเจ้าสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
    ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ

    ตอบลบ
  8. พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณตราบนิรันดร์

    ตอบลบ
  9. พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณตราบนิรันดร์

    ตอบลบ
  10. เสด็จสู่สวรรคาลัยผองพสกนิกรชาวไทย
    น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณตราบนิจนิรันดร์

    ตอบลบ




  11. สถิตอยู่ในใจตราบนิรันดร์
    น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้

    ตอบลบ
  12. น้อมเกล้าฯถวายอาลัย
    ส่งดวงพระวิญญาณพระองค์
    เสด็จฯสู่สวรรคาลัย

    ตอบลบ
  13. น้อมเกล้าฯถวายอาลัย
    ส่งดวงพระวิญญาณพระองค์
    เสด็จฯสู่สวรรคาลัย

    ตอบลบ
  14. พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณตราบนิรันดร์

    ตอบลบ
  15. พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณตราบนิรันดร์

    ตอบลบ
  16. ชาติของเราชาติไทยใครก็รู้
    ชาติเคยสู้ผ่านศึกเหตุชั่วร้าย
    ชาตินักรบต่อสู้จนชีพวาย
    ชาติอยู่ได้แม้ตายก็ยอมพลี
    ชาติไทยเราถึงคราวน่าใจหาย
    ชาติมิวายสลายแน่ในครานี้
    ชาติเคยรบปกป้องเอาชีพพลี
    ชาติวันนี้ราชจักรีได้จากไป
    ชาติเคยอยู่ร่วมกันฉันพี่น้อง
    ชาติปกครองประชาให้สดใส
    ชาติจะอยู่คู่โลกไปยาวไกล
    ชาติวิไลผองไทยคงเบิกบาน
    ชาติวันนี้ผองเราต้องร่วมช่วย
    ชาติไม่ม้วยร่วมด้วยช่วยกันสาน
    ชาติจะสุขร่มเย็นตลอดกาล
    ชาติคือบ้านวิมานสำราญใจ...

    ตอบลบ
  17. สถิตอยู่ในใจตราบนิรันดร์
    น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้

    ตอบลบ
  18. สถิตอยู่ในใจตราบนิรันดร์
    น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้

    ตอบลบ
  19. สถิตอยู่ในใจตราบนิรันดร์
    น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้

    ตอบลบ
  20. น้อมเกล้าฯถวายอาลัย
    ส่งดวงพระวิญญาณพระองค์
    เสด็จฯสู่สวรรคาลัย

    ตอบลบ
  21. น้อมเกล้าส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย
    น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้

    ตอบลบ
  22. สถิตอยู่ในใจตราบนิรันดร์
    น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้

    ตอบลบ
  23. สถิตอยู่ในใจตราบนิรันดร์
    น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้

    ตอบลบ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.