นานาสาระเรื่องบุญ ไม่ทำบุญทำไมจึงตกนรก
เพื่อให้เราได้เข้าใจบุญ อย่างถูกต้อง
เมื่อเข้าใจบุญถูกต้องแล้วก็จะรู้จักใช้
ประโยชน์จากบุญ อย่างถูกต้องด้วย
#บุญคืออะไร?
เชื่อว่าคงมีคนสงสัยบุญโดยชื่อ...
"เป็นชื่อของความสุข"
หมายความว่า ผู้มีความสุขคือคนที่
มีบุญ บุญเป็นเหมือนเชื้อของความ
สุขนั่นเอง อุปมาเหมือนเชื้อเห็ด
#แล้วจำเป็นไหมที่ต้องทำบุญ?
ในคำถามนี้ เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจน
จำเป็นต้องรู้เรื่องจิตปรุงแต่งเสียก่อน
แล้วเราจะตอบคำถามนี้ได้เอง
สิ่งที่เข้ามาปรุงแต่งจิตมี ๓ อย่าง
๑.ปุญญาภิสังขาร
เครื่องปรุงแต่งจิต คือ บุญ
คำว่าบุญเรารู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า
"ความดี" เมื่อเราทำบุญหรือความดี
สิ่งนี้ก็จะเข้าไปปรุงแต่งจิต ให้ผ่องใส
เบิกบานมีความสุขมีกำลังใจ ปรุงแต่ง
จิตให้อยู่ในสุคติภพสวรรค์
๒.อปุญญาภิสังขาร
สิ่งนี้ก็จะเข้าไปปรุงแต่งจิต ให้ผ่องใส
เบิกบานมีความสุขมีกำลังใจ ปรุงแต่ง
จิตให้อยู่ในสุคติภพสวรรค์
๒.อปุญญาภิสังขาร
เครื่องปรุงแต่งจิต คือ สิ่งที่มิใช่บุญ
จะปรุงแต่งจิตให้เฉยๆ หรือเศร้าหมอง
เป็นทุกข์ จัดเป็นการปรุงแต่งจิตให้
อยู่ในทุคติภพอบายภูมิ
๓.อเนญชาภิสังขาร
๓.อเนญชาภิสังขาร
เครื่องปรุงแต่งจิตที่เป็นความมั่นคง
ไม่หวั่นไหวไปตามอารมณ์ ปรุงแต่ง
ให้จิตสงบเกิดสมาธิระดับต่างๆ
ซึ่งเกิดจากการฝึกอบรมสติ
อย่างต่อเนื่องยาวนานพอสมควร
เป็นการปรุงแต่งจิตให้อยู่ในภพพรหม
#ถ้าเราไม่ทำบุญให้บุญปรุงแต่งจิต
หรือไม่ฝึกฝนปฏิบัติธรรม ให้ความนิ่ง
ปรุงแต่งจิต จิตใจเราก็จะถูกปรุงแต่ง
ด้วยบาปหรือสิ่งที่มิใช่บุญ ผลก็คือจิต
จะเศร้าหมอง เมื่อตายไปก็มีอบายภูมิ
ทั้ง ๔ เป็นที่ไป ปรารถนาอย่างนั้นหรือ
ถ้าไม่ปรารถนาก็ต้องทำบุญ!!
#บุญควรทำมากหรือน้อยดี?
ในข้อนี้ไม่เป็นประมาณ เพราะขึ้นอยู่
กับเหตุปัจจัยอื่นประกอบด้วย เช่นเรา
มีทรัพย์มากหรือน้อย เป็นต้นสมมติว่า
ทำบุญทีเดียว ๑๐ ล้านแล้วก็ไม่ทำอีก
เลย อย่างนี้ก็สู้ทำบุญครั้งละ ๕๐ , ๑๐๐
แต่ทำบ่อยๆ ทุกวันไม่ได้ พระพุทธเจ้า
ตรัสว่า
#ถ้าเราไม่ทำบุญให้บุญปรุงแต่งจิต
หรือไม่ฝึกฝนปฏิบัติธรรม ให้ความนิ่ง
ปรุงแต่งจิต จิตใจเราก็จะถูกปรุงแต่ง
ด้วยบาปหรือสิ่งที่มิใช่บุญ ผลก็คือจิต
จะเศร้าหมอง เมื่อตายไปก็มีอบายภูมิ
ทั้ง ๔ เป็นที่ไป ปรารถนาอย่างนั้นหรือ
ถ้าไม่ปรารถนาก็ต้องทำบุญ!!
#บุญควรทำมากหรือน้อยดี?
ในข้อนี้ไม่เป็นประมาณ เพราะขึ้นอยู่
กับเหตุปัจจัยอื่นประกอบด้วย เช่นเรา
มีทรัพย์มากหรือน้อย เป็นต้นสมมติว่า
ทำบุญทีเดียว ๑๐ ล้านแล้วก็ไม่ทำอีก
เลย อย่างนี้ก็สู้ทำบุญครั้งละ ๕๐ , ๑๐๐
แต่ทำบ่อยๆ ทุกวันไม่ได้ พระพุทธเจ้า
ตรัสว่า
"ควรทำบุญบ่อยๆ เพราะถ้าทำ
บุญช้าไปจิตจะยินดีในบาป"
#ทำบุญควรจะอธิษฐานอย่างไร?
ที่โบราณพาทำให้อธิษฐานว่า
บุญช้าไปจิตจะยินดีในบาป"
#ทำบุญควรจะอธิษฐานอย่างไร?
ที่โบราณพาทำให้อธิษฐานว่า
"ขอบุญนี้จงเป็นปัจจัยเพื่อพระนิพพาน"
นับว่าเป็นการอธิษฐานที่ถูกต้อง ดีที่สุดแล้ว
"เพราะพระนิพพานคือปลายทางบุญ"
ส่วนต้นทางคือ...จิตใจผ่องใสเบิกบาน
ส่วนกลางทางคือปัจจัยสมบูรณ์พร้อม
ในระหว่างที่ยังวนเวียนในวัฏฏสงสาร
#สิ่งที่ไม่ควรอธิษฐานมีอะไรบ้าง?
ก็มีอยู่หลายอย่างน่ะเช่น อธิษฐานขอ
ให้ถูกหวย หรือรวยทันตาเห็นเป็นต้น
ที่ไม่ควรเพราะ เป็นการเร่งรัดการให้
ผลของกรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
เพราะกรรมมีวาระ การให้ผลอยู่แล้ว
เหตุปัจจัยพร้อมเมื่อไหร่ ก็ให้ผลเมื่อ
นั้นมิได้ให้ผลตามใจของเรา แต่ถ้าทำ
ถูกเนื้อนาบุญดีจริงๆ เช่น พระพึ่งออก
นิโรธสมาบัติก็อาจจะให้ผลชนิดเรียก
ว่า "แหกโผ" ได้เหมือนกันคือเร็วมาก
จนคาดไม่ถึงอาจเป็นเศรษฐีใน ๗ วัน
#ที่ไม่ควรอธิษฐานขอให้ถูกหวย
หรือรวยทันตาเห็น เพราะว่ามีผลเสีย
คือถ้าอธิษฐานแล้วไม่สมปรารถนาจะ
ทำให้ขาดความเชื่อในบุญได้ เปรียบ
เหมือนบุคคลปลูกมะพร้าว แล้วตั้งจิต
อธิษฐานให้มะพร้าวออกผลใน ๗ วัน
พอมะพร้าวไม่ออกผลตามที่อธิษฐาน
จิตใจเป็นอย่างไร? อาจคิดว่ามะพร้าว
เป็นหมั่น ถึงกับฟันต้นทิ้งก็เป็นได้?
#หน้าที่ของเราคือทำบุญบ่อยๆ
เพื่อให้จิตผ่องใส เบิกบานมีความสุข
มีเสบียงในระหว่างยังวนอยู่ในสังสาร
และเพื่อนิพพานสถานีสุดท้ายในชีวิต
ส่วนบุญจะให้ผลเป็นถูกหวยหรือรวย
เป็นเศรษฐี ก็ให้เป็นหน้าที่ของกรรม
เพราะกรรมบางอย่าง ให้ผลในชาตินี้
กรรมบางอย่างให้ผลในชาติหน้าและ
กรรมบางอย่างให้ผลในชาติต่อๆไป!!
#บุญเหมือนประทีป
แม้เราจะจุดต่อให้คนอื่นสักเท่าไหร่
ก็ไม่ได้ทำให้แสงสว่างของเทียนเราลดลง
มีแต่จะช่วยให้แสงสว่างรอบตัวเรา
สว่างมากขึ้น เมื่อเราทำบุญ ถึงจะอุทิศ
หรือแบ่งปันบุญให้กับใครๆสักเท่าไหร่
ก็ไม่ได้ทำให้บุญเราลดลง มีแต่จะได้
บุญเพิ่มขึ้นอีกเพราะทำให้ผู้อื่น
มีความสุขมากขึ้น
" เมื่อเราเดินทางน้ำ
" เมื่อเราเดินทางน้ำ
เรือ คือ เพื่อนที่ดีที่สุดของเราฉันใด
เมื่อเราเดินทางไกลวนเวียนอยู่ในวัฏฏสงสาร
บุญ ก็คือ เพื่อนที่ดีที่สุดของเราฉันนั้น "
นานาสาระเรื่องบุญ ไม่ทำบุญทำไมจึงตกนรก
Reviewed by bombom55
on
06:12
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: