DSI ไม่มีอำนาจแจ้งข้อหา หลวงพ่อธัมมชโย จริงหรือ??


แฉ!!  
DSI ไม่มีอำนาจแจ้งข้อหา 
หลวงพ่อธัมมชโย จริงหรือ??

ก่อนอื่นต้องขออธิบายขั้นตอนในคดีอาญาที่เกี่ยวข้องอย่างคร่าวๆตามลำดับ ดังนี้

1. บุคคลใดมากล่าวโทษ (ในความผิดอาญาแผ่นดิน)

2. พนักงานสอบสวน (หรือในที่นี้ คือDSI) ทำการสอบสวน และทำสำนวนส่งให้พนักงานอัยการ พร้อมเสนอความเห็นว่าควรสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้อง

3. พนักงานอัยการพิจารณาสำนวน และมีคำสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้อง หรือ สั่งให้ DSI สอบสวนเพิ่มเติม หรือมีคำสั่งให้แจ้งข้อหากับใครเพิ่มเติม เป็นต้น

******ความสำคัญของเรื่องนี้อยู่ตรงขั้นตอนนี้******* 

คือเมื่อ DSI ส่งสำนวนขึ้นไปยังพนักงานอัยการ(ตามข้อ2)แล้ว 
สำนวนจะหลุดจาก DSI ทันที 
ทำให้อำนาจในการสั่งคดีอยู่ที่พนักงานอัยการเท่านั้น 

DSI ไม่มีอำนาจไปแจ้งข้อหาใดกับใคร
ที่เกี่ยวข้องในสำนวนนั้นเพิ่มเติมได้อีก 
หากไม่มีคำสั่งของพนักงานอัยการ

(ป.วิ.อาญา มาตรา 141,143 และตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 9/2481)



******ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นคือ********

1. วันที่ 21 มิ.ย. 2556 นายพิษณุ ชีวะสิทธิ์กับพวก ได้ร้องทุกข์ต่อ DSI และ DSI ได้รับเป็นคดีพิเศษที่ 146/2556 โดยดำเนินคดีกับนายศุภชัย ศรีศุภอักษร ในข้อหายักยอกทรัพย์สหกรณ์คลองจั่น มูลค่าความเสียหายทั้งหมด 13,334 ล้านบาท


2. DSI ได้สอบสวนและสรุปสำนวนส่งขึ้นไปให้พนักงานอัยการ โดย DSI ได้เสนอความเห็นว่าควรสั่งฟ้องนายศุภชัยกับพวกรวม 4 คน ในข้อหาร่วมกันยักยอกทรัพย์ ในวันที่ 18 ก.พ. 2557

*********อย่าลืม!! เมื่อ DSI ส่งสำนวนขึ้นไปแล้ว 
อำนาจในการที่จะสั่งให้แจ้งข้อหาใดกับใครเพิ่มเติม 
อยู่ที่พนักงานอัยการเท่านั้น!!*********

3. พนักงานอัยการพิจารณาสำนวนแล้วสั่งให้ DSI สอบสวนเพิ่มเติมในประเด็นเช็คที่นายศุภชัยกับพวกสั่งจ่ายให้กับบุคคลธรรมดา และนิติบุคคลต่างๆ รวมทั้งหมด 878 ฉบับ (คิดเป็นวงเงินประมาณ 11,367 ล้าน)  

ในจำนวนเช็คทั้งหมดนี้ มีอยู่ 11 ฉบับ ที่นายศุภชัยได้สั่งจ่ายในชื่อของหลวงพ่อธัมมชโย โดยนายศุภชัยได้ทยอยนำมาบริจาคให้กับทางวัดตั้งแต่ ปี 2552-2554 เพื่อนำไปสร้างศาสนสถานตามที่ทางวัดมีโครงการก่อสร้างอยู่ในขณะนั้น (อาคารร้อยปีคุณยายอาจารย์ฯ) 



ซึ่งในปัจจุบันการก่อสร้างเกือบเสร็จสมบูรณ์แล้ว และทาง DSI ได้เคยเดินทางมาสอบปากคำหลวงพ่อธัมมชโยที่วัดพระธรรมกายในฐานะพยาน และได้ร่วมกับ ปปง. มาตรวจสอบเส้นทางการเงินของเช็คทุกฉบับที่ทางวัดได้รับมาเรียบร้อยแล้ว 

พบว่าสามารถตรวจสอบได้ 100% โดยได้โอนเข้าบัญชีบริษัทก่อสร้างเพื่อจ่ายค่าก่อสร้างทั้งหมด และไม่มีการเบิกเงินสดออกจากบัญชีหลวงพ่อธัมมชโยเลยแม้แต่บาทเดียว




4. ในขั้นตอนการสอบสวนเพิ่มเติมนี้ หากว่า DSI มีพยานหลักฐานหรือข้อมูลอันใด ก็ต้องส่งขึ้นไปให้พนักงานอัยการพิจารณาว่าจะให้ DSI แจ้งข้อหาใดกับใครเพิ่มเติมหรือไม่ 

เช่น ถ้าหาก DSI พบว่า มีพยานหลักฐานที่แสดงได้ว่า นาย A ซึ่งเป็นผู้รับเช็ค รู้ว่าเป็นเช็คที่ได้มาจากการยักยอก ก็จะส่งข้อมูลนี้ขึ้นไปให้พนักงานอัยการพิจารณา หากพนักงานอัยการพิจารณาแล้วเห็นว่า ควรแจ้งข้อหารับของโจรกับนาย A ก็จะสั่งให้ DSI ไปดำเนินการแจ้งข้อหากับ นาย A ต่อไป  

หลักกฎหมายข้อนี้ พ.ต.ท.สมบูรณ์ สาระสิทธิ์ (รองอธิบดี DSI)
ท่านรู้ดี เพราะท่านได้เคยพูดไว้ด้วยตัวท่านเอง
ในรายการเผชิญหน้า เมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2558


      เผชิญหน้า 02/3/58 : แกะรอย "ธรรมกาย"
     เชื่อมโยง คดีฉ้อโกงสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน


5. ในส่วนเช็คจำนวน 11 ฉบับที่มีชื่อหลวงพ่อธัมมชโยเป็นผู้รับบริจาคนั้น ทาง DSI ก็ได้ส่งข้อมูลขึ้นไปยังพนักงานอัยการ พร้อมมีความเห็นว่าควรตั้งข้อหาสมคบกันฟอกเงิน และรับของโจรกับหลวงพ่อธัมมชโยด้วย

6. พนักงานอัยการพิจารณาสั่งคดี เมื่อวันที่ 29 ม.ค.2559 โดย 

***ไม่มีคำสั่งให้ตั้งข้อหาใดๆ
กับหลวงพ่อธัมชโย***

เนื่องจากพยานหลักฐานไม่สามารถเชื่อมโยงได้ว่าท่านกระทำความผิด และมีคำสั่งเพียงว่าหาก DSI พบพยานหลักฐานว่ามีบุคคลอื่นร่วมสมคบ หรือสนับสนุนการกระทำผิดที่เกี่ยวข้องในคดีพิเศษที่ 146/2556 นี้ ก็ให้ DSI ดำเนินการส่งให้อัยการพิจารณาต่อไป

7. ฟังดูแล้ว เรื่องมันก็ควรจะจบตรงนี้ หรือถ้าหาก DSI มีพยานหลักฐานเพิ่มเติมก็ต้องส่งให้พนักงานอัยการพิจารณาตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป

8. แต่..ต่อมา หลังจากที่พนักงานอัยการไม่สั่งฟ้องหลวงพ่อธัมมชโยเพียงแค่เดือนเศษๆ กลับมีนายธรรมนูญ อัตโชติ มากล่าวโทษหลวงพ่อธัมมชโย ในข้อหาสมคบกันฟอกเงินและรับของโจรอีก ซึ่งมูลเหตุของการกระทำที่ถูกกล่าวหานั้น คือมูลเหตุเดียวกันกับที่ DSI ได้เคยสอบสวนและส่งสำนวนขึ้นไปให้พนักงานอัยการแล้ว ในคดีพิเศษที่ 146/2556 ดังกล่าว!!

9. ดังนั้น สิ่งที่ DSI ต้องทำ คือ ทำการสอบสวนหาพยานหลักฐานเพิ่มเติม แล้วส่งขึ้นไปยังพนักงานอัยการ หากพนักงานอัยการพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้แจ้งข้อหากับหลวงพ่อธัมมชโย DSIจึงจะมีอำนาจตั้งเป็นคดีใหม่ และแจ้งข้อหากับหลวงพ่อธัมมชโยได้

10. แต่!! สิ่งที่ DSI ทำคือ ตั้งเป็นคดีใหม่เลย คือคดีพิเศษที่ 27/2559 และดำเนินการตั้งข้อหาสมคบกันฟอกเงินและรับของโจร กับหลวงพ่อธัมมชโยทันที ***โดยไม่มีการส่งข้อมูลขึ้นไปให้พนักงานอัยการพิจารณาใดๆทั้งสิ้น***


11. ที่สำคัญในช่วงเวลาก่อนที่ DSI จะตั้งข้อหานั้น ทางทนายความผู้รับมอบอำนาจของหลวงพ่อธัมมชโย ได้ทำหนังสือสอบถามไปยังพนักงานอัยการว่า ในกรณีเช่นนี้ DSI มีอำนาจแยกคดีตั้งข้อหาเองหรือไม่?
*****ได้รับคำตอบจากพนักงานอัยการว่า ในกรณีนี้ DSI จะต้องทำการสอบสวนหาพยานหลักฐานเพิ่มเติม แล้วส่งมาให้ทางอัยการพิจารณาสั่ง จะไปแยกคดีตั้งข้อหาเองไม่ได้!!*****

12. ทางทนายความผู้รับมอบอำนาจจึงได้ทำหนังสือแจ้งคำตอบของทางอัยการ ให้อธิบดี DSI ทราบแล้ว เมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2559
***แต่ DSI ก็ยังคงเดินหน้า
ตั้งข้อหากับหลวงพ่อธัมมชโยต่อไป
ทั้งที่รู้ว่าตนไม่มีอำนาจจะทำได้***








13. เมื่อ DSI ดำเนินการตั้งข้อหากับหลวงพ่อธัมมชโย โดยไม่มีอำนาจตามกฎหมายเช่นนี้ 

***ผลคือ การกระทำทุกอย่างในคดีที่ 27/2559 ของ DSI ย่อมไม่ถูกต้องตามกฎหมายเช่นกัน DSIไม่มีอำนาจออกหมายเรียก ไม่มีอำนาจขอหมายจับ และการที่บุคคลใดก็ตามไม่ปฏิบัติตามหมายดังกล่าว ก็ย่อมไม่มีความผิด (ตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 9/2481)***


14. ส่วนคนที่ผิด น่าจะเป็น DSI มากกว่า ที่รู้ทั้งรู้ว่าตัวเองไม่มีอำนาจ แต่ก็ยังกระทำ อาจเข้าข่ายความผิดฐานเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตาม ป. อาญา มาตรา 157 หรือไม่?  

คงต้องติดตามตอนต่อไป.......






ฝากถึง DSI 
ผู้อยู่เบื้องหน้า และเบื้องหลัง
ในกระบวนการนี้ทุกท่าน 

คุณทำอะไร รู้อยู่แก่ใจ

จะกลับตัวตอนนี้คิดว่า

ศิษย์วัดพระธรรมกายทุกท่าน

คงจะยินดีให้อภัยอยู่แล้ว


แต่อย่างไรคุณก็หนีไม่พ้น

กฎแห่งกรรมอยู่ดี 

อย่าสร้างวิบากกรรม

ให้ตัวเองไปมากกว่านี้เลย





โปรดแชร์!!


DSI ไม่มีอำนาจแจ้งข้อหา หลวงพ่อธัมมชโย จริงหรือ?? DSI ไม่มีอำนาจแจ้งข้อหา  หลวงพ่อธัมมชโย จริงหรือ?? Reviewed by bombom55 on 07:20 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.