การใช้อำนาจตามกฎหมาย ใช้แล้วเกิดความวุ่นวาย อำนาจนั้นจะกลายเป็นบ่อนทำลาย‬






คนมีอำนาจสามารถใช้ทุกสิ่งในทางที่ไม่ดีได้ เพื่อประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่พวกเขาวางไว้ฉันใด 
   
แต่หากทำทุกสิ่งในทางที่ดี ก็ประสบความสำเร็จได้อย่างสง่างามและได้รับการยอมรับก็ฉันนั้น 

ผมขอทักท้วงต่อกรณีคดีพระธัมมชโย ด้วยความเป็นกังวลอย่างยิ่ง ต่อกรณี


1)  การดำเนินคดีกับประชาชนที่เป็นลูกศิษย์วัดพระธรรมกายว่าขัดขวางการจับกุม

2) การใช้กำลังทหารเข้ากระชับวงล้อมเพื่อเอาตัวพระธัมมชโย มาดำเนินคดี



กรณีแรก
ดำเนินคดีกับประชาชนที่เป็นลูกศิษย์วัดพระธรรมกาย ตาม ป.อ.มาตรา 189 

"ผู้ใดช่วยผู้อื่นซึ่งเป็นผู้กระทำความผิด หรือเป็นผู้ต้อง หาว่ากระทำความผิด อันมิใช่ความผิดลหุโทษ เพื่อไม่ให้ต้องโทษ โดยให้พำนักแก่ผู้นั้น โดยซ่อนเร้นหรือโดยช่วยผู้นั้นด้วยประการใด เพื่อไม่ให้ถูกจับกุม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกิน สี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" 

แยกการกระทำที่เป็นองค์ประกอบความผิดได้ 2 ลักษณะ  คือ 

      1) ช่วยผู้อื่นซึ่งเป็นผู้กระทำความผิด หรือเป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิด อันมิใช่ความผิดลหุโทษ "เพื่อไม่ให้ต้องโทษ"  โดยให้พำนักแก่ผู้นั้น โดยซ่อนเร้นแก่บุคคลนั้น  

กรณีนี้เป็นความผิดเฉพาะการให้พำนักหรือซ่อนเร้นเท่านั้น  ไม่รวมการกระทำด้วยประการใดๆ

       2) ช่วยผู้อื่นซึ่งเป็นผู้กระทำความผิด หรือเป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิด อันมิใช่ความผิดลหุโทษ "เพื่อไม่ให้ต้องโทษ" โดยให้พำนักแก่ผู้นั้น โดยซ่อนเร้นหรือโดยช่วยผู้นั้นด้วยประการใด "เพื่อไม่ให้ถูกจับกุม" 

ทั้งสองลักษณะต้องตีความพฤติการณ์การกระทำด้วยความระมัดระวัง เพราะมีองค์ประกอบภายนอกที่แตกต่างกันดังที่กล่าวข้างต้น  

เช่น การเป็นผู้กระทำความผิด หรือการเป็นผู้ต้องหา  และยังต้องคำนึงว่า ผู้อื่นนั้น ตกเป็นผู้อยู่ในสถานะใดของการเข้าจับกุม หรือต้องโทษตามคำพิพากษาหรือไม่   กล่าวคือ  

พระธัมมชโย เป็นเพียงผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด ยังไม่แจ้งข้อหาจึงไม่ใช่  "เป็นผู้ต้องหา"  เมื่อยังไม่แจ้งข้อหา  ก็ยังไม่ได้สอบสวน 

แม้จะอ้างการสอบสวนผู้ต้องหาบางคน ซึ่งการสอบสวนนั้นอาจยังไม่สิ้นกระแสความว่า ผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 5 คน ได้ร่วมมือกันหรือสมคบกันอย่างไร  

มีข้อเท็จจริงปรากฎในทางสอบสวนครบถ้วนครบองค์ประกอบความผิดนั้น โดยปราศจากข้อสงสัยเป็นที่ยุติแล้วหรือไม่ มิใช่เพียงสอบสวนเท่าที่พอใจ     

แล้วผลักภาระให้ตกเป็นของจำเลย ไปพิสูจน์ตนเองในชั้นศาลดังที่ชอบทำกัน (ไม่ใช่ชอบธรรม) 

การออกหมายจับ ซึ่งนำไปสู่การออกหมายค้น จึงมิใช่ออกหมายจับเพราะกระทำความผิดอาญาฐานใด (เทียบฎีกาที่ 207/2517) 

แม้จะมีหมายจับ ก็เป็นการจับเพื่อมาแจ้งข้อหา เพื่อมาทำการสอบสวนๆเสร็จแล้ว ก็อาจจะไม่เป็นความผิดก็ได้  


ดังนั้น การที่ดีเอสไอจะแจ้งความเอาผิดกับผู้ที่อ้างว่าขัดขวาง เป็นการช่วยเหลือผู้อื่นนั้น จึงต้องพิจารณาเข้าองค์ประกอบของการกระทำทั้ง 2 ลักษณะหรือไม่ 

ที่สำคัญจะต้องไม่มั่ว


การออกหมายค้น เป็นไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 69(4) ก็เพื่อพบบุคคลซึ่งมีหมายให้จับ  

กรณีพระธัมมชโยเป็นหมายจับเพื่อมาดำเนินคดี แต่ต้องมีการสอบสวนดังที่กล่าวมา  พระธัมมชโยมิใช่เป็นผู้ที่ได้กระทำความผิดตามคำพิพากษาถึงที่สุด แล้วเป็นผู้หลบหนี  หรือเป็นผู้ต้องหาที่มีการแจ้งข้อหาแล้วแต่อย่างใด    

การกระทำด้วยประการใดๆ เพื่อมิให้ถูกจับกุม ต้องมีเจตนาพิเศษในบั้นปลายด้วยว่า "เพื่อไม่ให้ต้องโทษ" จึงจะเป็นความผิด

ผู้ที่ช่วยเหลือผู้อื่น ต้องมีเจตนา โดยรู้ข้อเท็จจริงอันเป็นประกอบของความผิด  การจะกล่าวหาว่าผู้ที่ช่วยเหลือนั้นรู้ว่าผู้นั้นกระทำความผิด ต้องเป็นเรื่องเจตนาที่ไม่ได้สำคัญผิดในข้อเท็จจริงด้วย  

หากสำคัญผิดว่าผู้อื่นนั้นไม่ได้กระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหาแล้วจะฟังว่ามีเจตนาช่วยผู้กระทำความได้หรือไม่  มิเช่นนั้น การกระทำด้วยประการใดๆ เพื่อมิให้ถูกจับกุมเพื่อไม่ให้ต้องโทษนั้น ก็ต้องมีเจตนาพิเศษที่เกิดมาจากการมีเจตนากระทำความผิดด้วย

การแจ้งความที่กล่าวหาพวกเขากระทำความผิดตามมาตรา 189 จึงต้องชัดแจ้งทั้งพฤติการณ์ อันเป็นข้อเท็จจริง และปรับเข้าข้อกฎหมายที่ถูกต้องด้วย มิเช่นนั้นอาจถูกแจ้งความกลับได้


#ผมเห็นว่า_ไม่ผิด_189



กรณีที่สอง
การใช้กำลังทหาร เข้ากระชับวงล้อมเพื่อเอาตัวพระธัมมชโย เป็นการใช้ผิดประเภท ผิดหน้าที่และไม่มีอำนาจ 

เนื่องจากที่จะสั่งการให้ใช้กำลังทหาร ทหารมิใช่เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานตามคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 เพราะมิใช่ความผิดที่กำหนดไว้ในคำสั่งดังกล่าว

นอกจากนี้ ทหารมิได้มีหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้บังคับบัญชา เนื่องจากผู้บังคับบัญชาที่สั่งไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะมาจับกุม หรือทำการค้นตามหมายค้น และมิใช่ผู้ช่วยเจ้าพนักงานที่จะช่วยจับกุมตามกฎหมาย  

สรุปคือ ไม่ใช่หน้าที่ของทหารไม่ว่าชั้นประทวนหรือชั้นสัญญาบัตร 

การจะนำทหารออกมา จึงไม่ใช่การใช้อำนาจตามคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 และคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 13/2559  

มีทางเดียวคือ ใช้อำนาจของหัวหน้า คสช. ตามรัฐธรรมนูญ(ชั่วคราว) พ.ศ.2557 มาตรา 44 เท่านั้น   

แต่ก็มีคำพูดของหัวหน้า คสช. ต่อสาธารณะแล้วว่าจะไม่ใช้อำนาจ ตามมาตรา  44  เพราะมีช่องกฎหมายให้ดำเนินการได้ จะทำหรือไม่เท่านั้นเอง    

แต่หากตัดสินใจใช้อำนาจนี้  ก็ย่อมเป็นการตอกย้ำตามที่คณะศิษย์ฯแถลงว่า จะรอให้บ้านเมืองกลับสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์นั่นเอง
         
ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสงคราม ศาสนา และการเข่นฆ่าภายในประเทศ มีต้นตอมาจากบรรดาผู้ปกครองที่ฉ้อฉล ใช้อำนาจตามอำเภอใจ หรือ นักวิชาการผู้นับถือศาสนาที่อคติ คำสอนของศาสนาไม่ได้สอนให้มนุษย์กดขี่ รังแก หรือ เข่นฆ่าผู้ใด 

ดังนั้น การใช้กำลังทหารในกรณีเช่นนี้จึงไม่สมควรอย่างยิ่ง



#กล่าวโดยสรุป เมื่อมีข้อทักท้วงแล้ว  ก็ต้องมีข้อเสนอแนะด้วย นั่นคือ  ย้อนกลับไปใช้อำนาจตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 ตามวิธีการปกติ  โดยไม่ต้องไปขอออกหมายค้นอีก 

เพราะอะไร  ผู้มีอำนาจคงคาดหมายได้  เพียงแต่หันมาใช้การเข้าไปวัดธรรมกาย เพื่อพบพระธัมมชโย แล้วแจ้งข้อหาแก่ท่าน สอบปากคำพิมพ์มือที่นั่น หากมีข้อเท็จจริงที่ต้องเพิ่มเติม ก็สอบสวนให้ตามสิทธิของผู้ต้องหา  

ในระหว่างที่พนักงานอัยการดูสำนวนสอบสวนก็สามารถพิจารณาและอาจสั่งทำการสอบสวนได้อีก 

ไม่จำต้องเร่งรัดให้เกิดข้อเปรียบเทียบเรื่องมาตรฐานอย่างที่มีคนพูดกัน


ารใช้อำนาจที่อาจสร้างรอยร้าว

สร้างประเด็นความขัดแย้งเพิ่มขึ้นไม่รู้จบ
แล้วความสงบสุขจะเกิดขึ้นได้อย่างไร


‪#‎การใช้อำนาจตามกฎหมาย
ใช้แล้วเกิดความวุ่นวายประชาเอือมระอา
อำนาจนั้นจะกลายเป็นบ่อนทำลาย‬

‪#‎เอาที่สบายใจ
ยังแตกแยกกันไม่พอ‬

การใช้อำนาจตามกฎหมาย ใช้แล้วเกิดความวุ่นวาย อำนาจนั้นจะกลายเป็นบ่อนทำลาย‬ การใช้อำนาจตามกฎหมาย ใช้แล้วเกิดความวุ่นวาย อำนาจนั้นจะกลายเป็นบ่อนทำลาย‬ Reviewed by bombom55 on 09:24 Rating: 5

1 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณทนาย ที่ให้ความรู้ แจ่มแจ้ง เข้าใจ สบายใจ

    ตอบลบ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.